UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน


 นัยของกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 228 คือ
           ก)ฆราวาสสามารถทำหน้าที่ในพระศาสนจักร
           ข)ฆราวาสที่จะมาทำหน้าที่ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม
          ค)ผู้มีอำนาจของพระศาสนจักรเป็นผู้รับรองหรือแต่งตั้งฆราวาสเข้าทำงานในพระศาสนจักร
          ง)ฆราวาสที่มีความรู้ รอบคอบ และเที่ยงธรรมสามารถช่วยเหลือพระศาสนจักรในฐานะผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษา

กฎหมายพระศาสนจักรมาตราอื่นๆที่แสดงให้เห็นบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องฆราวาส โดยจะศึกษาดังต่อไปนี้

             7.1.1 ฆราวาสทุกคนต่างเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ดังปรากฎในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 208 ความว่า “โดยการเกิดใหม่ในพระคริสต์ คริสตชนทุกคนเท่าเทียมกันอย่างแท้จริงในศักดิ์ศรีและหน้าที่การงานเพื่อร่วมมือกันเสริมสร้างพระกายทิพย์ของพระคริสต์ตามสภาพและหน้าที่ของแต่ละคน”

             7.1.2 ฆราวาสสทุกคนมีส่วนในพันธะกิจของพระศาสนจักร ดังปรากฏในกฎหมายพระ ศาสนจักรมาตรา 216 ความว่า “เนื่องจากคริสตชนทุกคนมีส่วนร่วมในพันธกิจของพระศาสนจักร จึงมีสิทธิสนับสนุนหรือค้ำจุนกิจการการแพร่ธรรมด้วยการริเริ่มของตนอง ตามสถานภาพของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม ห้ามใช้ชื่อคาทอลิกโดยพลการในการริเริ่มใดๆเว้นไว้แต่ว่าจะได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงอำนาจฝ่ายพระศาสนจักรแล้ว”

            7.1.3 ฆราวาสบางคนสามารถเข้าทำงานในพระศาสนจักรได้ตามกฎหมายของพระศาสนจักรมาตรา 208 วรรค 1 และ 2 ดังนี้ “ฆราวาสที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถรับตำแหน่งและหน้าที่ฝ่ายพระศาสนจักรจากนายชุมพาบาลผู้ศักดิ์สิทธิ์ของเขา ซึ่งตำแหน่งและหน้าที่ดังกล่าว เขาสามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดของกฎหมาย” วรรค 2 กล่าวว่า “ฆราวาสที่ดีเด่นในความรู้ ความรอบคอบ และความเที่ยงธรรมที่จำเป็น สามารถช่วยเหลือนายชุมพาบาลของพระศาสนจักรในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษา แม้ในการประชุมสภาด้วยตามเกณฑ์ของกฎหมาย”

             7.1.4 ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรต่อไปนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของฆราวาสในการทำงานในพระศาสนจักร โดยแยกเป็นเรื่องต่างๆ ดังนี้

             7.1.4 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในพิธีกรรมดังปรากฏในกฎหมายพระศาสนจักร
                      มาตรา 230 กล่าวไว้ในวรรคที่ 1 ว่า “ฆราวาสชายที่มีอายุและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ โดยกฤษฎีกาของสภาพระสังฆราช สามารถได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อ่าน และผู้ช่วยพิธีกรรมถาวรตามจารีตพิธีกรรมที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การมอบตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้ มิได้เป็นการให้สิทธิ์ที่จะรับเงินค่าครองชีพหรือค่าตอบแทนแก่พวกเขาจากพระศาสนจักร”

                     มาตรา 230 วรรค 2 กล่าวว่า “ฆราวาสสามารถรับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อ่านชั่วคราวระหว่างการประกอบพิธีกรรมได้ ในทำนองเดียวกันฆราวาสทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่พิธีกรหรือนักขับร้องหรือหน้าที่อื่นๆตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายได้”


                     มาตรา 230 วรรค 3 กล่าวว่า “เมื่อพระศาสนจักรมีความจำเป็นและขาดศาสนบริกร ฆราวาสแม้มิใช่เป็นผู้อ่านหรือผู้ช่วยพิธีกรรม สามารถปฏิบัติหน้าที่บางอย่างแทนได้ เช่น ทำหน้าที่ศาสนบริกรพระวาจา เป็นประธานนำการภาวนาในพิธีกรรม โปรดศีลล้างบาปและแจกศีลมหาสนิท ทั้งนี้ตามข้อกำหนดของกฎหมาย”

             7.1.4.2 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะเป็นศาสนบริกรแห่งพระวาจา ซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา 759 ความว่า “คริสตชนฆราวาส โดยเหตุที่ได้รับศีลล้างบาปและศีลกำลังก็เป็นพยาน คือข่าวดีแห่งพระวรสารทั้งด้วยวาจาและด้วยตัวอย่างแห่งชีวิตคริสตชน พวกเขายังสามารถได้รับเชิญให้เข้าร่วมกับพระสังฆราชและพระสงฆ์ในการปฏิบัติศาสนบริการพระวาจาด้วย”

                     มาตรา 766 กล่าวว่า “ฆราวาสสามารถได้รับอนุญาตให้เทศน์ในวัดหรือสถานภาวนาได้ ถ้าหากจำเป็นในบางกรณีหรือหากมีประโยชน์ในกรณีเฉพาะ ทั้งนี้ตามข้อกำหนดของสภาพระสังฆราช...” และสภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทยได้ออกกฤษฎีกาที่ 6ให้พระสังฆราชประมุขสังฆมณฑลอาจจะอนุมัติให้บรรดาฆราวาสแสดงธรรมในวัดหรือภาวนาสถานได้ในกรณีต่างๆโดยสอดคล้องกับมาตรา 767 ดังต่อไปนี้

            ก) เมื่อมีบรรดาสัตบุรษมาชุมนุมกันโดยไม่มีพระสงฆ์หรือสังฆานุกร ซึ่งสามารถพูดภาษาของกลุ่มนั้นได้
            ข)เมื่อมีการประกอบวจนพิธีกรรม โดยไม่มีพระสงฆ์หรือสังฆานุกร
            ค)เมื่อมีบรรดาสามเณรใหญ่ที่เริ่มเรียนสาขาวิชาเทววิทยาถูกส่งไปฝึกงานอภิบาลตามวัด
            ง)เมื่อมีเหตุการณ์แบบอย่างร้องให้บรรดาฆราวาสเข้ามามีส่วนร่วมด้วย (เช่นเรื่องการเงิน เรื่องร้องเรียนพิเศษต่างๆ เหตุการณ์พิเศษต่างๆ)
           จ)เมื่อพระสังฆราชประมุขสังฆมณฑลเห็นว่าเหมาะสมและมีข้อกำหนดเสริมว่า “บทเทศน์ในมิสซา (HOMILY) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ถูกสงวนไว้สำหรับบรรดาพระสงฆ์ และบรรดาสังฆานุกรเสมอ ดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 767 วรรค 1”

                7.1.4.3 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะเป็นครูคำสอน ซึ่งกล่าวไว้ในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 776 ความว่า “พระสงฆ์เจ้าอาวาสโดยหน้าที่ต้องเอาใจใส่ให้มีการอบรมคำสอนแก่ผู้ใหญ่ เยาวชนและเด็ก เพื่อบรรลุจุดประสงค์นี้ ท่านต้องใช้บริการของสมณะที่สังกัดกับวัดปกครอง สมาชิกของสถาบันชีวิตที่ถวายแล้ว และของคณะชีวิตแพร่ธรรม โดยคำนึงถึงเอกลักษณ์ของแต่ละสถาบัน รวมทั้งคริสตชนฆราวาสด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูคำสอน บุคคลทั้งหมดเหล่านี้หากไม่มีข้อขัดขวางอันชอบต้องไม่ปฏิเสธให้ความช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ เจ้าอาวาสต้องส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของบิดามารดาในการสอนคำสอนในครอบครัวดังระบุในมาตรา 774 วรรค 2”

                 7.1.4.4 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะผู้ทำงานแพร่ธรรมร่วมกับธรรมทูตกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 785 วรรค 4 กล่าวว่า “ให้ใช้ครูสอนคำสอนในการทำงานแพร่ธรรม กล่าวคือคริสตชนฆราวาสที่ได้รับการอบรมอย่างเหมาะสมและมีชีวิตคริสตชนที่ดีเด่นซึ่งอุทิศตนเพื่อสอนพระวรสารและจัดการเกี่ยวกับพิธีกรรม รวมทั้งงานด้านเมตตาจิตภายใต้การดูแลของธรรมทูต”
 
                 7.1.4.5 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะอาจารย์ผู้สอนวิชาศักดิ์สิทธิ์ ดังปรากฏ
ในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 229 วรรค 3 ความว่า “ในทำนองเดียวกัน เมื่อได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับความเหมาะสมที่จำเป็นแล้ว ฆราวาสก็สามารถรับอนุญาตให้สอนวิชาศักดิ์สิทธิ์จากผู้ทรงอำนาจทางพระศาสนจักรที่ถูกต้องได้”

                  7.1.4.6 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะสมาชิกสมัชชาสังฆมณฑล ดังปรากฏในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 460 ความว่า “สมัชชาสังฆมณฑล คือกลุ่มพระสงฆ์และคริสตชนที่ได้รับเลือกจากพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น เพื่อช่วยเหลือพระสังฆราชสังฆมณฑล ยังประโยชน์ของปวงชนทั่วเขต       สังฆมณฑล” และกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 463 วรรค 2 กล่าวว่า “พระสังฆราชสังฆมณฑลยังสมารถเรียกผู้อื่นเข้าร่วมประชุมสมัชชา    สังฆมณฑลได้อีก ซึ่งอาจจะเป็นสมณะ สมาชิกสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วหรือคริสตชนฆราวาสได้”

                  7.1.4.7 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะผู้ปกครองในพระศาสนจักร ซึ่งได้กล่าวไว้ในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 129 วรรค 2 ความว่า “คริสตชนที่เป็นฆราวาสสามารถมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจการปกครองตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย”

                  7.1.4.8  ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะผู้ปกครองวัด ซึ่งได้กล่าวไว้ในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 517 วรรค 2 ความว่า “หากเพราะความขาดแคลนพระสงฆ์ พระสังฆราชสังฆมณฑลมีความเห็นว่าต้องมอบให้สังฆานุกรหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระสงฆ์หรือกลุ่มบุคคลมีส่วนในงานอภิบาลวัดปกครอง ท่านก็ต้องตั้งพระสงฆ์องค์หนึ่งที่มีอำนาจปกครองและอำนาจปฏิบัติของเจ้าอาวาสเป็นผู้อำนวยการอภิบาล”

                  7.1.4.9 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะผู้ประกอบพิธีสมรส  ซึ่งกล่าวในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1112
                            วรรค 1 ความว่า “ถ้าสภาพพระสังฆราชได้เห็นชอบและสันตะสำนึกได้อนุญาตแล้ว ที่ใดที่ขาดพระสงฆ์และสังฆานุกรพระสังฆราช สังฆมณฑลสามารถมอบอำนาจให้แก่ฆราวาสประกอบพิธีแต่งงานได้”
                             วรรค 2 กล่าวว่า “ต้องเลือกฆราวาสที่เหมาะสมที่สามารถให้การอบรมบุคคลที่จะแต่งงาน และมีคุณสมบัติที่จะประกอบพิธีกรรม การแต่งงานได้อย่างถูกต้อง”
               7.1.4.10 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของพระศาสนจักร ซึ่งได้กล่าวไว้ในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 494 วรรค 1 ความว่า “ในแต่ละสังฆมณฑล หลังจากฟังคณะที่ปรึกษาและคณะที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินแล้ว พระสังฆราชต้องแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจการเงิน และเป็นผู้โดดเด่นทีเดียวด้านความซื่อสัตย์”
 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1282 ยังกล่าวอีกว่า “ทุกคนไม่ว่าจะเป็นสมณะหรือฆราวาส ซึ่งมีส่วนในการบริหารทรัพย์สินฝ่ายพระศาสนจักร โดยตำแหน่งอันชอบด้วยกฎหมาย ต้องปฏิบัติหน้าที่ในนามของพระศาสนจักรตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย”

                7.1.4.11 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะเจ้าหน้าที่ในสำนักสังฆมณฑล ซึ่งกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 482

                           วรรค 1 กล่าวว่า “ในทุกๆสำนักให้มีการแต่งตั้งเลขาธิการ ซึ่งมีงานหลักคือจัดทำเอกสารและเก็บรักษาเอกสารไว้ในที่เก็บเอกสารของสำนักฯ เว้นไว้แต่ว่ากฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น”
                             วรรค 2 กล่าวว่า “ถ้าเห็นว่าจำเป็น เลขาธิการก็สามารถมีผู้ช่วยได้โดยมีตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการ”
                             วรรค 3 กล่าวว่า “เลขาธิการ (CHANCELLOR) และรองเลขาธิการเป็นนิติกรณ์ (NOTARY) และเลขานุการของสำนักฯโดยอัตโนมัติ
 
                 7.1.4.12 ความสัมพันธ์ของฆราวาสในฐานะเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรม ซึ่ง
แบ่งหน้าที่ได้ดังนี้
                             ก) ผู้พิพากษา :กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1421 วรรค 2 กล่าวว่า “สภาพระสังฆราชสามารถอนุญาตให้แต่งตั้งฆราวาสเป็นผู้พิพากษาด้วย และเมื่อเห็นว่าจำเป็นก็สามารถเลือกผู้หนึ่งในบรรดาฆราวาสให้ประกอบขึ้นเป็นคณะผู้พิพากษา”
                             ข) ผู้เชี่ยวชาญ : กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1424 กล่าวว่า “ในการพิจารณาคดีที่มีผู้พิพากษาเพียงผู้เดียว ท่านสามารถใช้ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านเป็นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองอาจเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาสที่มีประวัติดี”
                             ค) ผู้สอบคดี : กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1428 วรรค 2 กล่าวว่า “พระสังฆราชสามารถรับรองให้สมณะหรือฆราวาสทำหน้าที่เป็นผู้สอบคดี แต่บุคคลนั้นต้องโดดเด่นในด้านความประพฤติดี ความรอบคอบและวิชาการ
                           ง) ผู้ผดุงความยุติธรรมและผู้ปกป้องพันธะ : กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1435 ความว่า “พระสังฆราชมีหน้าที่แต่งตั้งผู้ผดุงความยุติธรรมและผู้ปกป้องพันธะ พวกเขาต้องเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาสที่มีประวัติไม่ด่างพร้อยและมีวุฒิปริญญาเอกหรือปริญญาโททางกฎหมายพระ ศาสนจักร และมีความสุขุมรอบคอบ และร้อนรนในความยุติธรรมอย่างแจ้งชัด”

 

7.2 ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องฆราวาสกับพระศาสนจักรตามคำสอนของสังคายนาวาติกันที่ 2  

            7.2.1 พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส (APOSTOLICAM  ACTUOSITATEM)  ข้อ 24 ความว่า “ในพระศาสนจักร มีการริเริ่มในการแพร่ธรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยฆราวาสสมัครเลือกทำเองและดำเนินงานตามความวินิจฉัยอันฉลาดของเขาเอง อาศัยการริเริ่มเช่นนี้ ในบางโอกาสพระศาสนจักรจึงทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นบ่อยครั้งพระฐานานุกรมจึงชมเชยและสนับสนุนการริเริ่มเหล่านั้น..”

              7.2.2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร (LUMEN GENTIUM) ข้อ 37 กล่าวว่า“ฝ่ายบุคคลที่มีหน้าที่ศาสนบริกร (หรือชุมพาบาล) ทั้งหลายก็จงรับรู้ศักดิ์ศรีและความรับผิดชอบของฆราวาส ต้องส่งเสริมเขาด้วย จงยินดีรับความคิดเห็นอันปรีชาฉลาดของพวกเขา จงวางใจมอบตนแก่เขาเพื่อประโยชน์ของพระศาสนจักร จงปล่อยเขาให้มีเสรีภาพในการทำงานและจงให้เวลาแก่พวกเขา ยิ่งไปกว่านั้นจงส่งเสริมให้พวกเขามีกำลังใจ ให้เขาริเริ่มงานด้วยตัวของเขาเอง จงมีความรักประสาพ่อ พิจารณาดูการงานที่เขาเริ่มขึ้น มองดูในองค์พระคริสตเข้าซึ่งความหวังและความปรารถนาดีที่พวกฆราวาสเสมอ อิสรภาพอันยุติธรรมซึ่งใครๆก็มีสิทธิ์ในสังคมบ้านเมือง ก็ขอให้เจ้าหน้าที่ศาสนบริการจงรับรู้ด้วยความเคารพไว้ด้วย เนื่องจากพวกฆราวาสและศาสนบริกรต่างคบค้ากันอย่างสนิทสนมดังนี้ ก็หวังได้ว่า พระศาสนจักรจะได้รับคุณประโยชน์มากมาย เช่น ฆราวาส จะมีความสำนึกในการรับผิดชอบส่วนของเขาโดยเฉพาะอย่างแน่วแน่ขึ้น เขาจะมีแก่ใจ สละกำลังเรี่ยวแรงร่วมงานของพระศาสนจักรง่ายขึ้น ฝ่ายศาสนบริกร เพราะได้รับความช่วยเหลือจากฆราวาส ท่านจะตัดสินด้วยความแน่ใจขึ้นและเหมาะสมขึ้น ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับวิญญาณ ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับโลก จึงจะเป็นอันว่าพระศาสนจักรทั้งพระศาสนจักรขะแข็งแกร่งขึ้นด้วย อาศัยสมาชิกของท่านเพื่อชีวิตของโลกได้รับผลสำเร็จยิ่งขึ้น”

                 7.2.3 พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร (Ad GENTES) ข้อ 21 ความว่า “ฉะนั้นสภาสังคายนานี้พร้อมกันขอบพระคุณพระเป็นเจ้า เนื่องในผลงานอันงดงามที่พระศาสนจักรทั่วไปได้ประกอบมาด้วยน้ำใจร้อนรนและกว้างขวาง สภาสังคายนานี้ใคร่จะวางหลักเกณฑ์งานธรรมทูตและผนึกกำลังของสัตบุรุษเข้าด้วยกัน เพื่อว่าประชากรของพระเป็นเจ้าซึ่งมุ่งเดินหน้าไปทางประตูคับแคบแห่งไม้กางเขน จะได้ขยายพระราชัยของพระคริสตเจ้าซึ่งกวาดสายตามองเห็นทุกยุคทุกสมัย (บสร 36:19)และจะได้เตรียมทางให้พระองค์เสด็จมา”

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...
"มีชีวิตใหม่"ข่าวดีสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ (B)วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ1. ปัสกาเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักร เป็นจุดกำเนิดของความหวังเรื่องการกลับคืนชีพและชีวิตนิรันดร์ เราฉลองวันปัสกาด้วยความภาคภูมิใจและความชื่นชมยินดีด้วยเหตุผลสามประการ...
"แห่ใบลาน"ข่าวดีวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (B)วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ 1. พระศาสนจักรฉลองสัปดาห์ที่หกในเทศกาลมหาพรต...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก