UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

28 แนวทางเพื่อเติมเต็มงานอภิบาลตามวัด
หมวดที่ 1: งานทำให้ชุมชนวัดศักดิ์สิทธิ์ (Sanctifying the Parish)

แนวทางที่ 1: การเฝ้าศีลมหาสนิท (Eucharistic Adoration)
                  ก่อนอื่นควรเริ่มทำวัดน้อยสำหรับเฝ้าศีล (หรือสถานที่เหมาะสม) เพราะการเฝ้าศีลมหาสนิทถือเป็นการนำคริสตชนมุ่งสู่ศูนย์กลางความเชื่อคาทอลิก นั่นคือ องค์พระเยซูคริสตเจ้า การประทับอยู่ของพระองค์ในศีลมหาสนิทจะทำให้ความเชื่อของคริสตชนเข้มแข็ง เติบโต ผ่านการใช้เวลาสงบเงียบเพื่อภาวนากับพระองค์ การเฝ้าศีลมหาสนิทยังเป็นโอกาสให้คริสตชนได้ไตร่ตรองชีวิต กระแสเรียก อีกทั้งเตรียมจิตใจเพื่อจะรับศีลอภัยบาป หรือศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ อย่างเหมาะสมต่อไป
        (ตารางเวลาการเฝ้าศีลที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส ใช้เวลา 140 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ 17.00 น. ของวันอาทิตย์ ไปจนถึง 09.00 น. ของวันเสาร์ โดยเชิญคุณพ่อจากคณะมิชชันนารีแห่งศีลมหาสนิทมาเป็นประธานมิสซาในทุกวัน โดยมีสมาชิกของวัดราว 700 คน ได้ลงชื่อเพื่อสลับกันมาเฝ้าศีลมหาสนิท และทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ พระสังฆราช Sheen เคยกล่าวไว้ว่า การใช้เวลาต่อหน้าศีลมหาสนิท เป็นเสมือนการเยียวยารักษาจากแสงแห่งศีลมหาสนิท ซึ่งจะทำลายบาปต่างๆ ให้สูญสิ้นไป)

แนวทางที่ 2: คณะพลมารี (The Legion of Mary)
              แม้กลุ่มพลมารีจะเป็นองค์กรที่ขึ้นกับสันตะสำนัก แต่จุดประสงค์แท้จริงของคณะพลมารี ก็คือ การทำให้ศักดิ์สิทธิ์ (Sanctification) ซึ่งนอกจากจะสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับสมาชิกของกลุ่มเองแล้ว ยังมีส่วนทำให้สังคมและบริบทของวัดนั้นๆ ศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นด้วย คณะพลมารีช่วยให้สมาชิกพัฒนาชีวิตจิตอย่างเป็นระบบตามรูปแบบของนักบุญหลุยห์ มารี เดอ มองฟอร์ต (True Devotion to Mary) รวมถึงรูปแบบชีวิตจิตของพระแม่มารีย์ และพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้า
(คุณพ่อฟรานซิสเอง ก็เคยเข้าสังกัดคณะพลมารีตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เริ่มจากกลุ่มพลมารีเด็ก พลมารีเยาวชน และพลมารีผู้ใหญ่ ปัจจุบันคุณพ่อฟรานซิสเป็นวิญญาณรักษณ์ของกลุ่มพลมารี 8 เปรซีเดียม แบ่งเป็นกลุ่มพลมารีผู้ใหญ่ 6 เปรซีเดียม และกลุ่มพลมารีเด็ก 2 เปรซีเดียม คุณพ่อฟรานซิสพบว่าการมีกลุ่มพลมารีในแต่ละวัดนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะกลุ่มพลมารีเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มแพร่ธรรมของวัด)

แนวทางที่ 3: นพวารประจำสัปดาห์ (Weekly Novena)
            นพวารแม่พระเหรียญอัศจรรย์ ถือเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของการฟื้นฟูจิตวิญญาณของวัด ซึ่งโดยปกติที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสจะกำหนดในตอนเย็นวันจันทร์ และมีพิธีนพวารในวันศุกร์หลังจากมิสซาตอน 09.00 น. เนื่องจากว่าเป็นมิสซาที่มีคนมาร่วมพิธีมากที่สุด (ราว 300 คน) เนื้อหาสาระให้พิธีนพวารนั้น จึงเน้นถึงการกลับใจมารับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ รวมถึงการเยียวยาฝ่ายจิต การติดต่อสัมพันธ์กับพระเจ้า และการวอนขออัศจรรย์จะพระหรรษทานของพระองค์

แนวทางที่ 4: ศีลอภัยบาป (Confession)
              ตางรางเวลาบริการศีลอภัยบาปที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส ได้แก่ เย็นวันพฤหัส วันศุกร์หลังมิสซา 09.00 น. และบ่ายวันเสาร์ รวมถึงช่วงเทศกาลมหาพรตหลังจากเดินรูป 14 ภาค คุณพ่อฟรานซิสพบว่าศีลอภัยบาปช่วยดึงดูดใจสัตบุรุษให้มารับบริการ ขอเพียงมีพระสงฆ์นั่งในที่ฟังแก้บาปตามเวลาที่กำหนด รวมถึงเชิญชวนสัตบุรุษให้มารับศีลอภัยบาป อีกทั้งเทศน์สอนเกี่ยวกับศีลอภัยบาป สัตบุรุษก็จะตอบรับในการมาใช้บริการศีลอภัยบาป อาจกล่าวได้ว่าศีลอภัยบาปนั้นเป็นการเสริมสร้างความดีของจิตวิญญาณสัตบุรุษและของวัดเลยก็ว่าได้

แนวทางที่ 5: คู่มือศีลอภัยบาป [ช่วยวินิจฉัยโรค] (The Confessional as Pharmacy)
          คุณพ่อฟรานซิสได้วางหนังสือคู่มือเล็กๆ ตรงที่ฟังแก้บาป ซึ่งบรรจุบทภาวนาต่างๆ ราว 70 บท รวมถึงการ์ดภาพพระคัมภีร์ และใบปลิวที่น่าสนใจต่างๆ คู่มือเหล่านี้เปรียบเป็นดัง “ใบสั่งยา” ในการทำกิจการใช้โทษบาป นอกเหนือจากการแนะนำ ตักเตือน และการให้สวดบทข้าแต่พระบิดาและวันทามารีอา อย่างละ 3 บทแล้ว คู่มือดังกล่าวช่วยให้ผู้ฟังแก้บาปได้วินิจฉัยปัญหา ความบาปผิดต่างๆ ของผู้มารรับบริการได้อย่างเหมาะสม
(คุณพ่อฟรานซิสแนะนำให้มีแผ่นกระดาษเล็กที่เขียนขั้นตอน คำพูด รวมถึงบทแสดงความทุกข์ซึ่งใช้ในการรับศีลอภัยบาปด้วย เพราะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้มารับศีลอภัยบาปเป็นเวลานานๆ หรืออาจหลงลืมบทภาวนาแบบใหม่ เป็นต้น)

แนวทางที่ 6: เข้าเงียบแบบย่อ และงานแพร่ธรรม (Mini “Retreats” and Missions)
           คุณพ่อฟรานซิสเห็นถึงประโยชน์ในการพัฒนาชีวิตจิตของสัตบุรุษของท่าน ผ่านการจัดเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจแบบครึ่งวัน ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นก็ได้ และควรแยกจัดกันระหว่างชายและหญิง โดยอาจเชิญพระสงฆ์จากคณะนักบวชต่างๆ มานำการเข้าเงียบ แบ่งปันประสบการณ์และข้อคิด ฟังแก้บาป และให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ตามที่เห็นสมควร นอกจากนี้ ยังสามารถจัดเข้าเงียบให้กับกลุ่มต่างๆ ของวัดได้อีกด้วย เช่น กลุ่มครูคำสอน กลุ่มเด็กช่วยจารีต กลุ่มเด็กเตรียมรับศีลมหาสนิทครั้งแรก เป็นต้น (ช่วงเหมาะสมที่สุดในการจัดเข้าเงียบก็คือ ช่วงเทศกาลมหาพรต)
(ตัวอย่างตารางเวลาในช่วงการเข้าเงียบ ได้แก่ เริ่มด้วยพิธีมิสซา หลังมิสซาเป็นช่วงรับศีลอภัยบาป (ราว 1 ชม.) ทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ (เช่น เฝ้าศีลมหาสนิท) ช่วงที่วิทยากรบรรยายให้ข้อคิด ตามด้วยการอวยพรศีลมหาสนิท และจบด้วยการรับศีลอภัยบาปอีกช่วงหนึ่ง (ราว 17.30 น.) การประชาสัมพันธ์ให้สัตบุรุษได้ทราบหลังพิธีบูชาชอบพระคุณ หรือผ่านทางสารวัด เว็ปไซด์ของวัด ฯลฯ จะช่วยให้เข้าถึงสัตบุรุษที่อาจไม่ได้มาวัดเป็นประจำได้ทราบทั่วกันด้วย

แนวทางที่ 7: การอภิบาลโดยการใช้สิ่งคล้ายศีลต่างๆ (Sacramentalize the Flock)
           เราสามารถใช้สิ่งคล้ายศีลต่างๆ ในการเสริมสร้างชีวิตคริสตชนของบรรดาสัตบุรุษได้ โดยการจัดสรรหรือทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ตัวอย่างเช่น การมอบเหรียญแม่พระอัศจรรย์ให้กับสัตบุรุษในโอกาสฉลองแม่พระเหรียญอัศจรรย์ในเดือนพฤศจิกายน ในเดือนกรกฎาคมโอกาสฉลองแม่พระแห่งภูเขาคาร์เมลก็มอบเสื้อจำพวก (Brown Scapular) ให้กับสัตบุรุษ หรือในเดือนตุลาคมก็ให้สายประคำ เป็นต้น สิ่งคล้ายศีลเหล่านี้สามารถช่วยให้สัตบุรุษได้รับพระหรรษทานปัจจุบัน (Actual Grace) ได้ รวมถึงน้ำเสกที่สัตบุรุษสามารถนำกลับไปใช้ที่บ้าน หรือการจุดเทียนต่อหน้ารูปพระหรือนักบุญต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน

         การที่วัดมีร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ รูปพระ กางเขน สิ่งคล้ายศีลต่างๆ หรือหนังสือเสริมศรัทธา หรือแม้แต่ของที่ระลึก ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างชีวิตจิตและความเชื่อความศรัทธาของบรรดาสัตบุรุษได้

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...
"มีชีวิตใหม่"ข่าวดีสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ (B)วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ1. ปัสกาเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักร เป็นจุดกำเนิดของความหวังเรื่องการกลับคืนชีพและชีวิตนิรันดร์ เราฉลองวันปัสกาด้วยความภาคภูมิใจและความชื่นชมยินดีด้วยเหตุผลสามประการ...
"แห่ใบลาน"ข่าวดีวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (B)วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ 1. พระศาสนจักรฉลองสัปดาห์ที่หกในเทศกาลมหาพรต...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก