UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

28 แนวทางเพื่อเติมเต็มงานอภิบาลตามวัด
หมวดที่ 2: งานสร้างชุมชนแห่งการแพร่ธรรม (Evangelizing the Parish)

แนวทางที่ 8 : ผู้อภิบาลในแบบสุนัขเลี้ยงแกะ(Use the “Pastor’s Sheepdogs”)
                  คุณพ่อฟรานซิสใช้หลักการอภิบาลของคุณพ่อโรเบิร์ต เบรดชอร์ที่ว่า “พระสงฆ์ควรทำงานเยี่ยงคนงานหนึ่งร้อยคน แต่ทว่าใช้คนหนึ่งคนไปทำมัน” (ไม่ใช่แบบ “ผู้อภิบาลสันดานเสมียน”) การหาผู้ร่วมงาน หรือการสร้างเครือข่ายการทำงาน จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังเช่นคุณพ่อฟราสซิสที่ใช้กลุ่มพลมารีผู้ใหญ่ไปตามบ้านของสัตบุรุษทีละบ้านๆ เพื่องานอภิบาล เช่น ไปเพื่อเยี่ยมเยียนคนชรา ผู้เจ็บป่วย คริสตชนใหม่ หรือผู้กำลังประสบความยากลำบากในการดำเนินชีวิต รวมถึงการจัดส่งสารวัด หรือแจ้งข่าวสารของทางวัด วิธีการนี้ต่างใช้ได้ผลทั้งสิ้น


                 ครั้งหนึ่ง กลุ่มพลมารีได้ไปเยี่ยมชายคนหนึ่งที่ทิ้งวัดไปราว 40 ปี ชายคาทอลิกผู้นั้นซาบซึ้งใจ ร้องไห้ และกล่าวว่า “พระเจ้าทรงส่งพวกท่านมาให้ผม” เนื่องด้วยชายผู้นั้นกำลังจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดในระยะสุดท้าย กลุ่มพลมารีได้เชิญคุณพ่อฟรานซิสไปเยี่ยม โปรดศีลอภัยบาป และศีลเจิมผู้ป่วยในอีกสองสามวันต่อมา หลังจากนั้นภรรยาของชายผู้นั้นซึ่งเป็นโปรแตสแตนท์ได้พาเขาไปร่วมมิสซาวันอาทิตย์ที่วัด จนอีก 6 เดือนต่อมาเขาได้เสียชีวิต ในช่วงสุดท้ายในชีวิตเขาได้ชื่นชมและขอบคุณกลุ่มพลมารีอยู่บ่อยครั้งที่ช่วยนำเขากลับมาพบกับสันติสุขกับพระเจ้าในช่วงปั้นปลายของชีวิต

                   คุณพ่อฟรานซิสกล่าวว่า การเป็นนายชุมพาบาลท่ามกลางฝูงแกะนั้น เป็นดังผู้อภิบาลแบบสุนัขเลี้ยงแกะ เพราะว่าต้องคอยวิ่งต้อนแกะตัวที่พลัดหลงไปให้กลับเข้ามายังฝูง และนำไปถึงคอกแกะอย่างปลอดภัย

แนวทางที่ 9: เสียงสวรรค์ในวันเกิด (Try “Phonelization”)

                “มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะโทรหาสัตบุรุษทุกคนในวันคล้ายวันเกิดของพวกเขา” คุณพ่อฟรานซิสกล่าว ในช่วงแรกๆ คุณพ่อฟรานซิสได้เริ่มจาก 5-6 คนต่อวัน จนในปัจจุบันต้องโทรถึงวันละ 30-40 คน เพียงแค่โทรไปคนละราว 1 นาที หรือไม่ก็ฝากข้อความเอาไว้ แต่คุณค่าที่ได้รับนั้นมันมากเกินกว่าเวลาที่เสียไป เพราะเสียงสะท้อนที่กลับมา เช่น “คุณพ่อ ผมเป็นคาทอลิกมา 70 ปีแล้ว แต่ไม่เคยมีพระสงฆ์องค์ใดเลยที่โทรมาอวยพรในวันคล้ายวันเกิดของผม” หรือไม่ก็ “คุณพ่อ การที่คุณพ่อโทรมาอวยพรดิฉันในวันคล้ายวันเกิดนั้น ทำให้ดิฉันกลับมาเข้าวัดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ละเลยไปหลายเดือน” แม้จุดประสงค์หลักของการโทรอวยพรวันเกิดก็เพื่องานแพร่ธรรม แต่สิ่งที่ได้รับควบคู่กันคือความมีน้ำใจดีและความปรารถนาดีต่อผู้อื่น

แนวทางที่ 10: ไปรษณีย์สื่อสัมพันธ์ (The Postal Approach)

                 สำหรับสมาชิกในครอบครัวหรือฝ่ายคู่สมรสที่ไม่ได้เป็นคาทอลิก คุณพ่อฟรานซิสจะใช้วิธีเขียนจดหมายถึงพวกเขา ปีหนึ่งๆ ก็ราว 500 ฉบับ เพื่อเชื้อเชิญพวกเขาด้วยความยินดีเพื่อมาร่วมกิจกรรมหรือพิธีกรรมในเทศกาลสำคัญของวัดและของชุมชนคาทอลิก รวมถึงให้คำแนะนำหรือข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตอยู่กับคู่ครองที่นับถือคาทอลิก สิ่งนี้อาจเป็นผลทำให้มีจำนวนผู้กลับใจมาเป็นคาทอลิกเฉลี่ยปีละ 30 คนในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมาก็เป็นได้ รวมถึงต้องโมทนาคุณพระเจ้าสำหรับจำนวนผู้กลับใจที่เพิ่มขึ้นเป็น 40 คนในปีนี้ รวมถึง 25 คนที่จะรับศีลมหาสนิทครั้งแรกและศีลกำลังอีกด้วย จดหมายอีกฉบับหนึ่งจะส่งถึงสัตบุรุษทุกครอบครัวก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปาสกา เพื่อแจ้งถึงตารางมิสซา ศีลอภัยบาป และกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเทศกาลนั้นๆ ส่วนจดหมายอีกฉบับหนึ่งจะส่งไปยังคริสตชนใหม่

                  จดหมายฉบับแรกที่สัตบุรุษได้รับจากทางวัด ควรจะเป็นจดหมายแสดงความปรารถนาดี ลงนามโดยคุณพ่อเจ้าวัด แต่ไม่ควรมีซองเชิญทำบุญแนบไปด้วย หากจะเชิญทำบุญควรจัดส่งไปในภายหลัง ควรให้สัตบุรุษได้เริ่มต้นด้วยความรู้สึกประทับใจในการต้อนรับอย่างอบอุ่นของทางวัดเป็นอันดับแรก (ไม่ใช่เริ่มต้นมาก็บอกบุญซะแล้ว)

แนวทางที่ 11: งานอภิบาลวันอาทิตย์ (The “Sunday Catholic” Apostolate)

                   บทเทศน์วันอาทิตย์ นับเป็นโอกาสสำคัญที่จะใช้เข้าถึงจิตใจบรรดาสัตบุรุษที่มาร่วมพิธีกรรมในวันอาทิตย์ ผู้อภิบาลสามารถใช้บทเทศน์วันอาทิตย์ เป็นช่วงเวลาของการให้ความรู้ เสริมสร้างแรงบันดาลใจ และช่วยให้บรรดาคริสตชนได้มีแนวทางการดำเนินชีวิตตลอดสัปดาห์นั้นๆ คุณพ่อฟรานซิสบอกว่าบทเทศน์วันอาทิตย์ถือเป็นโอกาสและงานสำคัญของบรรดาพระสงฆ์ ที่จะมอบเป็นของขวัญให้กับพระเจ้าในแต่ละสัปดาห์ คุณพ่อฟราสซิสยังจำบทประพันธ์อันหนึ่งได้ดี คือ “แพ็ดดี้ไปวัดทุกวันอาทิตย์ เขาไม่เคยขาดแม้แต่สัปดาห์เดียว แต่แพ็ดดี้กลับต้องตกลงไปในไฟนรก เพราะสิ่งที่เขาได้ทำไปในวันจันทร์...” ให้เราภาวนาเพื่อคริสตชนที่มาร่วมมิสซาในวันอาทิตย์ จะสามารถดำเนินชีวิตเป็นคริสตชนในวันอื่นๆ ตลอดสัปดาห์ด้วยเทอญ

 


แนวทางที่ 12: งานแพร่ธรรมกับการเตรียมคู่สมรสใหม่ (Entrées and Evangelization)

                   การอบรมเตรียมคู่แต่งงาน เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะประกาศพระวาจาให้กับคู่สมรส คุณพ่อฟรานซิสได้อบรมคู่สมรสจำนวน 4 ครั้งในแต่ละคู่ ในแต่ละปีจะมีคู่สมรสราว 40 คู่ รวมการอบรมทั้งหมดก็ 160 ครั้ง นับว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลย แม้หลายครั้งคุณพ่อฟราสซิสจะต้องอบรมคู่สมรสในร้านอาหารด้วยก็ตามที วันเสาร์หรือไม่ก็เที่ยงวันอาทิตย์ถือเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะพบกับคู่สมรส เพราะว่าคุณพ่อสามารถใช้เวลาช่วงค่ำในการประชุม อบรม หรือกระทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ด้วย

                 คุณพ่อฟรานซิสมักใช้ช่วงเวลาอาหารกลางวันกับการอบรมเตรียมคู่สมรส อาทิเช่น ช่วง 11.30 น. คุณพ่อฟรานซิสจะทานสลัดในขณะที่คู่สมรสทานอาหารกลางวันในระหว่างพูดคุยกับพวกเขา พอถึงการอบรมคู่สมรสคู่ต่อไปในเวลา 12.30 น. หรือ 13.00 น. คุณพ่อฟรานซิสก็จะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับคู่สมรส แต่หากต้องอบรมอีกคู่หนึ่ง คุณพ่อก็จะทานของหวานหรือผลไม้ต่อไป เป็นต้น คุณพ่อฟราสซิสประกาศพระวาจาโดยการให้แผ่นซีดีกับคู่สมรสไปศึกษา ให้เหรียญแม่พระอัศจรรย์ รูปภาพพระหฤทัย ภาพแม่พระ และคู่มือต่างๆ นอกจากนั้น คู่สมรสแต่ละคู่จะต้องเข้าอบรมเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวแบบธรรมชาติด้วย หากคู่สมรสที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ใช่คาทอลิก คุณพ่อฟรานซิสมักเชิญพวกเขาเข้าสู่กระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA) และการอบรมเยาวชนรุ่นใหญ่ (Young Adults meetings) ด้วยวิธีการเหล่านี้ทำให้วัดของคุณพ่อฟรานซิสมีจำนวนผู้ที่กลับใจเข้าเป็นคริสตชนในระดับที่น่าพอใจ

แนวทางที่ 13 : แผนกต้อนรับอย่างอบอุ่น (The Welcome Table)

                  คุณพ่อฟราสซิสจัดให้มีเจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับที่บริเวณด้านหน้าก่อนเข้าสู่ภายในวัด ซึ่งจะให้บริการผู้มาร่วมพิธีด้วยมิตรภาพ รอยยิ้ม อีกทั้งคอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ พลมารีบางคนได้รับมอบหมายให้ประจำหน้าที่ทั้งก่อนและหลังมิสซา เพื่อพูดคุยกับสัตบุรุษ ตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมของวัด หรือลงทะเบียนผู้สนใจในกลุ่มองค์กรใดๆ ของวัด ที่โต๊ะแผนกต้อนรับนั้นเอง บรรดาสัตบุรุษจะสามารถหาสายประคำ แผ่นพับเกี่ยวกับการสวดสายประคำ สารวัด หรือเอกสารเสริมศรัทธาอื่นๆ ครั้งหนึ่ง มีประสบการณ์ที่น่าประทับใจเกิดขึ้น พลมารีคนหนึ่งมาแจ้งคุณพ่อฟรานซิสว่ามีหญิงคนหนึ่งซึ่งทิ้งวัดไปนานนับสิบปีอยากจะพบกับคุณพ่อ จากนั้น หญิงคนนั้นก็ได้มาพบคุณพ่อฟรานซิสที่ห้องทำงาน มาขอรับศีลอภัยบาป คุณพ่อได้พูดคุยกับเธอเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของทางวัด และยังเชิญชวนเธอให้เข้าร่วมกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ของทางวัดอีกด้วย วันอาทิตย์ต่อมาคุณพ่อฟรานซิสเห็นหญิงผู้นั่นร่วมอยู่ในกลุ่มนักขับของวัด คุณพ่อฟรานซิสมักโมทนาคุณพระเจ้าอยู่เสมอ เหตุว่าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นนี้เอง ทำให้บรรดาสัตบุรุษได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย และประกาศพระวรสารให้กันและกันได้อย่างน่าประทับใจ

แนวทางที่ 14 : การบริหารจัดการพิธีบูชาขอบพระคุณ (Mass Management)

                 ก่อนและหลังพิธีบูชาขอบพระคุณ (มิสซา) จะเป็นผลดีหากพระสงฆ์ไปปรากฏตัวที่บริเวณหน้าวัด เพราะแค่การไปพบปะ พูดคุย ทักทายสัตบุรุษที่เดินทางมาถึง ยืนส่งพวกเขาที่กำลังจะกลับบ้าน เพียงแค่นี้ ก็เป็นการสร้างความประทับใจให้กับสัตบุรุษแล้ว ทำให้พวกเขาอยากจะมาร่วมมิสซาที่วัดแห่งนี้อีก รวมถึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับสัตบุรุษมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ท่าทีที่เป็นมิตร จริงใจ เอาใจใส่ของพระสงฆ์ช่วยให้งานอภิบาลเป็นไปด้วยความราบรื่น

                จะเชื่อหรือไม่ก็ตามที การมีน้ำดื่ม ชา กาแฟ หรือขนม เตรียมไว้บริการสัตบุรุษหลังจากมิสซา ถือเป็นส่วนจำเป็นเช่นเดียวกันในการประกาศพระวรสาร เพราะบรรดาสัตบุรุษของวัด รวมถึงสัตบุรุษที่มาจากต่างถิ่นจะได้มีโอกาสพบปะ ทำความรู้จักกัน แม้จะเป็นช่วงเวลาเพียงสั้นๆ ก็ตามที ดีกว่าหลังจบมิสซาต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปโดยที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรต่อกันเลย แม้มองดูว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กลับมีความสำคัญในการทำงานอภิบาลตามวัดของบรรดาพระสงฆ์

แนวทางที่ 15 : ตั้งกลุ่มเพื่อก้าวเดินร่วมกัน (Go For Groups…)

               คุณพ่อฟรานซิสตระหนักอย่างชัดแจ้งว่า การเชิญชวนให้สัตบุรุษของท่านมาร่วมกลุ่มต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้นมีความสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตคริสตชน เพราะจะทำให้วัดมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น อาทิเช่น การตั้งกลุ่มเยาวชนรุ่นใหญ่ ถือเป็นส่วนสำคัญทั้งสำหรับผู้เตรียมตัวสู่ชีวิตสมรสหรือชีวิตโสดก็ตามที นอกจากนั้น ยังเป็นโอกาสสอนเกี่ยวกับพระคัมภีร์ การสวดภาวนา พิธีกรรม ศีลธรรม รวมถึงการเจริญชีวิตแบบคริสตชนท่ามกลางสังคมปัจจุบันนี้อีกด้วย ที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสได้กำหนดให้มีกิจกรรมการทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ (Holy Hour) เดือนละครั้ง ในวันอาทิตย์ตอนค่ำ เวลา 18.30-19.30 น. นำโดยสัตบุรุษของคุณพ่อที่ผ่านการอบรมจากสถาบันที่เกี่ยวข้อง (..อาจนำรูปแบบการภาวนาแบบเทเซ่ มาปรับใช้ได้เช่นกัน) ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ชวนศรัทธา แสงไฟ แสงเทียน บทเพลง และอุปกรณ์ช่วยต่างๆ ทำให้สมาชิกของกลุ่ม รวมถึงสัตบุรุษอื่นๆ ที่เข้าร่วมนั้นได้มีเวลาภาวนาร่วมกันอย่างแท้จริง ทำให้วัดมีชีวิตชีวาและเกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น ในช่วงเวลานี้เอง คุณพ่อฟรานซิสก็จะทำหน้าที่โปรดศีลอภัยบาปสำหรับผู้ที่ต้องการอีกด้วย จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมนี้เองจะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการช่วยกิจการต่างๆ ของวัด รวมถึงเป็นเมล็ดพันธ์ที่จะนำสู่การกลับใจเป็นคริสตชนในอนาคตสำหรับพี่น้องความเชื่ออื่นอีกด้วย

                อย่างไรก็ตาม คุณพ่อฟรานซิสบอกว่า เราไม่อาจลืมกลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุได้ การพบปะกันเพียงเดือนละครั้ง แม้จะเป็นเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมง แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่มีค่าและมีความสุขยิ่งสำหรับพวกเขา

แนวทางที่ 16 : ตั้งกลุ่มอื่นๆ เพิ่มขึ้นหากจำเป็น (… and More Groups)

              คุณพ่อฟรานซิสเองก็ไม่อาจบอกได้ว่าจำนวนกลุ่มต่างๆ ที่ได้ตั้งขึ้นนั้นจะไปสิ้นสุดเมื่อไร เท่าที่นับได้ที่วัดของท่าน ได้ตั้งกลุ่มขึ้นแล้วจำนวน 65 กลุ่ม หากถามว่าคุณพ่อฟรานซิสจะต้องไปร่วมกิจกรรมของทุกกลุ่มหรือไม่ ตอบได้เลยว่า “ไม่” แต่ท่านจะแต่งตั้งบรรดาฆราวาสที่เหมาะสมไปแทน คุณพ่อฟรานซิสกล่าวว่ายิ่งกลุ่มมีมากเท่าไร วัดของท่านก็จะมีชีวิตชีวามากขึ้นเท่านั้น หลายกลุ่มในวัดของคุณพ่อฟรานซิสได้ช่วยงานอภิบาลอย่างเข้มแข็ง อาทิเช่น กลุ่มอัศวินศีลมหาสนิท กลุ่มชาวสะมาเรียผู้ใจดี กลุ่มวินเซนต์เดอปอล ซึ่งได้ช่วยเหลือผู้ที่ยากจนและขาดแคลน โดยเงินที่ใช้ช่วยเหลือนั้นไม่ได้เป็นเงินจากทางวัดเลยแม้แต่บาทเดียว แต่เป็นเงินจากการเสียสละแบ่งปันของสมาชิกในกลุ่มเอง นอกจากนี้ ที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส ยังมีกลุ่มที่ทำอาหารเลี้ยงคนยากจน กลุ่มที่ปกป้องชีวิตมนุษย์ซึ่งคอยสวดภาวนาหน้าคลินิกทำแท้ง กลุ่มที่ช่วยตัดเย็บอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ รวมถึงผ้าขาวที่ใช้พิธีศีลล้างบาปอีกด้วย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมกลุ่มเด็กช่วยมิสซา ซึ่งมีทั้งหมด 200 คนที่วัดของคุณพ่อฟรานซิส ซึ่งปกติจะมีเด็กช่วยมิสซาระหว่าง 12-25 คนในแต่ละมิสซา แม้กลุ่มต่างๆ นี้จะดูมากมายเพียงใด แต่สำหรับคุณพ่อฟรานซิสกลับบอกว่า ดูเหมือนท่านจะมีเวลาว่างมากกว่าพระสงฆ์อื่นๆ ในสังฆมณฑลของท่านเสียอีก (เนื่องจากกลุ่มต่างๆ นั้นมาช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระของท่าน)

แนวทางที่ 17 : จัดทำเว็ปไซด์ของวัด (Catch Them in a Web)

            ผู้ทำงานอภิบาลในโลกปัจจุบันคงไม่อาจปฏิเสธได้ถึงความจำเป็นของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คุณพ่อ ฟรานซิสบอกว่าเว็ปไซด์ของวัดถูกตั้งขึ้นโดยความเสียสละของคริสตชนใหม่ของวัดคนหนึ่ง เราต่างมุ่งหวังที่จะมีเว็ปไซด์ที่ดีเพื่อประโยชน์ในการอภิบาลสัตบุรุษ ซึ่งผลที่ปรากฎออกมานั้นดีเกินสิ่งที่เราคาดคิดเสียอีก แต่ละวัดควรจะมีเว็ปไซด์ของตนเอง เพราะการทำงานอภิบาลและการประกาศพระวรสารในปัจจุบันนี้ปราศจากสิ่งเหล่านี้มิได้ เว็ปไซด์ของวัดนับเป็นประโยชน์ เป็นต้นในการเสริมสร้างความเชื่อศรัทธาของสัตบุรุษ ลงภาพกิจกรรมต่างๆ ของวัดให้ทุกคนได้รับรู้ แจ้งปฏิทินกิจกรรมของทางวัด รวมถึงลงข้อมูลรายการกลุ่มศรัทธาต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้น เป็นต้น (ลองดูเว็ปไซด์ของวัดคุณพ่อฟรานซิส ได้ที่ www.holytrinityparish.net)

แนวทางที่ 18 : บันทึกบทเทศน์ลงในเว็ปไซด์ (Record and Reach Out)

             ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ พระสงฆ์ผู้อภิบาลสามารถลงบันทึกบทเทศน์หรือข้อคิดต่างๆ และนำลงเผยแพร่ในเว็ปไซด์ของวัดได้เช่นเดียวกัน (ทั้งแบบข้อเขียน คลิปเสียง หรือแม้แต่คลิปภาพด้วยก็ไม่ยากเกินไป) สัตบุรุษที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสเอง หรือแม้แต่คนอื่นๆ ก็สามารถคลิกที่เว็ปไซด์เพื่อฟังบทเทศน์วันอาทิตย์ของคุณพ่อ รวมถึงบทเทศน์และข้อคิดเตือนใจในแต่ละวันอีกด้วย เพียงแค่เตรียมเทศน์ จัดการบันทึกลงในไฟล์ แล้วนำลงเผยแพร่ในเว็ปไซด์ เพียงแค่นี้ใครก็ได้ในโลกก็สามารถเข้าถึง รับฟัง การประการศพระวรสารก็จะไปได้ไกลจนสุดปลายแผ่นดิน (เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกเป็นฝูงเลยทีเดียว)

แนวทางที่ 19 : ประกาศโฆษณา (Advangelizing)

              การทำแม่เหล็กติดรถยนต์ (หรือสติ๊กเกอร์ติดรถยนต์) สำหรับแจกให้สัตบุรุษ ก็เป็นวิธีการประกาศพระวรสารอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผล เพราะจะทำให้ชื่อหรือสัญลักษณ์แบบคาทอลิกเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน คุณพ่อฟรานซิสได้จัดทำแม่เหล็กติดรถยนต์จำนวน 5,000 ชิ้น สำหรับมอบเป็นของขวัญโอกาสเทศกาลคริสต์มาสแก่สัตบุรุษของท่านหลังมิสซาในคืนคริสต์มาส แม่เหล็กติดรถยนต์นั้นเป็นแบบวงกลมขนาด 10 นิ้ว สีทองและเหลืองบนพื้นสีฟ้าเข้ม มีคำว่า “วัดคาทอลิกพระตรีเอกภาพ, เมือง Gainesville มณรัฐ Virginia พร้อมเว็ปไซด์ของวัด” สัญลักษณ์เหล่านี้จะแสดงไปทุกทิศทุกทาง ทั้งที่บ้านของสัตบุรุษ ที่ทำงาน หรือที่ต่างๆ ที่รถของบรรดาสัตบุรุษของคุณพ่อฟรานซิสจะเดินทางไป หลายครั้งเมื่อคุณพ่อเห็นสัญลักษณ์นี้ที่รถคันใด คุณพ่อฟรานซิสก็มักจะเข้าไปทักทาย หรือสัตบุรุษกันเองเมื่อพบเห็นสัญลักษณ์นี้ก็จะทำเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้แม้เป็นเพียงเรื่องเล็น้อย แต่ก็สามารถสร้างมิตรภาพอันน่าประทับใจได้ หลายคนให้คำนิยามแม่เหล็กติดรถยนต์นี้แตกต่างกันไป แต่สำหรับคุณพ่อ ฟรานซิส ท่านเรียกมันว่า “ประกาศกโฆษณา”

          นอกนั้น อีกช่องทางหนึ่งซึ่งจะสามารถประชาสัมพันธ์วัดได้ ก็คือ ตามหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับต่างๆ หลายคนมาที่วัดของคุณพ่อฟรานซิสก็เพราะทราบตางรางเวลามิสซาหรือกิจกรรมต่างๆ ทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนั้น ยังสามารถเขียนคำคมหรือคำที่โดนใจสัตบุรุษตามที่ต่างๆ ของวัด เช่น ที่ทางเข้าหรือทางออก หรือแม้แต่ทำเป็นป้ายติดเอาไว้ในบริเวณวัด เช่น “Welcome home inactive Catholics; rediscover your Church” เป็นต้น

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...
"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก