UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

          คำ "ฆราวาส" กินความถึงกลุ่มสัตบุรุษคริสตชนทุกคน นอกจากบุคคลที่เป็นสมาชิกของฐานันดรสงฆ์ คือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร และบรรดาผู้อยู่ในฐานะนักบวช อันพระศาสนจักรรับรองแล้ว สัตบุรุษคริสตชนเหล่านี้คือผู้ที่สังกัดอยู่ในพระกายของพระคริสตเจ้าโดยทางการได้รับศีลล้างบาป เขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า เขามีส่วนตามฐานะและหน้าที่ของเขาในองค์พระคริสตเจ้า ด้วยภารกิจเป็นสงฆ์ ประกาศกและกษัตริย์ของพระองค์ท่าน เขาทำหน้าที่ดังกล่าวนี้ตามส่วนของเขาในฐานะเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า กระทำในพระศาสนจักรและในมนุษย์โลก (ธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 31)

          สังคายนาวาติกันที่ 2 กล่าวถึงฆราวาสไว้มากมายในธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร (LUMEN GENTIUM) ในบทที่ 4 ข้อ 30-38

ข้อ 32 กล่าวถึงศักดิ์ศรีของฆราวาส : พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ที่พระเป็นเจ้าทรงสถาปนาขึ้น มีระเบียบและดำเนินงานหลายสีหลายอย่างต่างกันเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจนักหนา "เหตุว่าในร่างกายอันหนึ่ง เรามีอวัยวะหลายอัน ทุกๆอวัยวะไม่ทำหน้าที่อันเดียวกันฉันใดก็ฉันนั้น เรามากคนด้วยกันรวมเป็นร่างกายเดียวของพระคริสตเจ้า เราต่างคนก็ต่างเป็นอวัยวะของกันและกัน" (รม 12:4-5)

          เป็นอันว่าประชากรของพระเป็นเจ้าที่พระองค์ได้ทรงเลือกสรรไว้มีประชากรเดียว "มีพระสวามีเจ้าเดียว ความเชื่ออันเดียว ศีลล้างบาปอันเดียว (อฟ 4:5) เกียรติศักดิ์ร่วมกันของมวลสมาชิก เนื่องจากพวกเขาได้เกิดใหม่ในพระคริสตเจ้า มีพระหรรษทานร่วมกัน เป็นลูกของพระเป็นเจ้า มีกระแสเรียกร่วมกัน มีความรอดอันเดียวกัน มีความหวังอันเดียวและมีความรักอันแบ่งแยกมิได้ เพราะฉะนั้น ในพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร หามีความไม่เสมอภาคอันใดเลย ไม่ว่าด้านเชื้อชาติหรือด้านประเทศชาติ ไม่ว่าด้านฐานะทางสังคมหรือทางเพศ เพราะว่า "ไม่มีชาวยิวหรือชาวกรีก ไม่มีชายหรือหญิง เหตุว่าพวกท่านทุกๆคนเป็นหนึ่งเดียวกันในพระคริสตเยซู" (กล 3:28 ; คส 3:11)

          เพราะฉะนั้น ฆราวาสทั้งหลาย ท่านได้รับพระมหากรุณาจากพระเป็นเจ้า ให้มีพระคริสตเจ้าเป็นพี่ พระองค์นี้ แม่ทรงเป็นเจ้าของสรรพสิ่ง ถึงกระนั้นได้เสด็จมาไม่ใช่เพื่อให้ใครรับใช้พระองค์ แต่เพื่อทรงรับใช้คนอื่น (มธ 12:11) ท่านมีพี่น้องคือบรรดาผู้ทำหน้าที่บริการพระศาสนา เดชะอำนาจ อาชญาสิทธิ์ของพระคริสตเจ้า เขาเป็นผู้เลี้ยงดูครอบครัวของพระเป็นเจ้าด้วยการสั่งสอน ด้วยการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์และด้วยการปกครองเพื่อให้ทุกๆคนปฏิบัติอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ตามพระบัญญัติใหม่ พระบัญญัติแห่งความรัก

 

ข้อ 34 ฆราวาสมีส่วนร่วมในสังฆภาพทั่วไปและในคารวกิจ : พระเยซูคริสต-เจ้า องค์พระสงฆ์สูงสุดนิรันดร เพราะทรงมีพระประสงค์จะให้พวกฆราวาสด้วยเป็นพยานยืนยันและเป็นผู้ร่วมพระภารกิจของพระองค์ จึงได้ทรงบันดาลให้พวกฆราวาสมีชีวิตด้วยพระจิตของพระองค์ และทรงกระตุ้นเตือนพวกเขาเรื่อยไปไม่หยุดหย่อนให้ไปสู่ความดีทุกอย่างและความครบครันทุกประการ

การกระทำทุกอย่างทุกประการของเขา เช่น การสวดมนต์ภาวนา การเริ่มงานแพร่ธรรม ดำเนินชีวิตสามีภรรยาและครอบครัว การงานที่เขาประกอบทุกๆวัน การพักผ่อนหย่อนใจ ในเมื่อเขากระทำขณะมีพระจิตเจ้าประทับอยู่ และกระทั่งความยุ่งยากต่างๆของชีวิต ในเมื่อเขาเพียรอดทน สิ่งทั้งหลายดังกล่าวนี้ล้วนเป็นเครื่องบูชาฝ่ายจิตใจ "เป็นบูชาที่พอพระทัยของพระเป็นเจ้า โดยอาศัยพระเยซูคริสตเจ้า" (1 ปต 2:5) ในการฉลองพิธีกรรมพระสดุดีบูชา เครื่องบูชาของเขานี้ เมื่อนำมาร่วมกับการบูชาถวายพระกายของพระคริสตเจ้า ก็ได้รับนำขึ้นทูลถวายแด่พระบิดาเจ้าด้วยความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง อาศัยวิธีการอันนี้เอง ฆราวาสทั้งหลายในเมื่อประพฤติความศักดิ์สิทธิ์ เขาก็กราบนมัสการพระเป็นเจ้าทุกแห่งหน นับว่าเขายกถวายโลกทั้งโลกแด่พระเป็นเจ้า

 

ข้อ 35 ฆราวาสมีส่วนร่วมในหน้าที่ประกาศกของพระคริสตเจ้าและในการเป็นพยานยืนยัน : เพราะฉะนั้น พวกฆราวาสแม้กำลังทำกิจธุระฝ่ายโลก เขาก็สามารถทั้งต้องทำธุรกิจอันประเสริฐนั้น คือการประกาศพระวรสารแก่ชาวโลก มีฆราวาสบางคน ในกรณีที่ขาดแคลนศาสนบริกรหรือศาสนบริกรเองมีความขัดข้องทำหน้าที่ของตนไม่ได้ เช่น ในคราวถูกเบียดเบียน ฆราวาสก็เข้าทำหน้าที่แทนอำนาจที่ตนได้รับ มีฆราวาสจำนวนมากกว่าอีกที่ยอมเสียสละกำลังของเขาทั้งหมดเพื่อภารกิจงานแพร่ธรรม อย่างไรก็ดีฆราวาสทุกคนไม่เว้นใครเลย ต้องร่วมมือเพื่อขยับขยายและเพื่อความเจริญก้าวหน้าของพระคริสตเจ้าในโลกนี้ ฉะนั้นฆราวาสทั้งหลายจงใช้วิถีทางหาความรู้ให้มากยิ่งขึ้นเสมอในด้านความจริงที่พระโปรดไขแสดง และจงวิงวอนเร่งเร้าให้ตนได้รับพระพรตามปรีชาจากพระเป็นเจ้าด้วยเทอญ

 

ข้อ 36 ฆราวาสส่วนในการเป็นกษัตริย์ : พระคริสตเจ้าทรงนอบน้อมเชื่อฟังจนกระทั่งได้ทรงยอมตาย เพราะเหตุนี้พระบิดาจึงได้ทรงเทิดทูนพระองค์ขึ้น (ฟป 2:8-9) โปรดให้เสด็จเข้าสู่พระราชัยอันทรงเกียรติของพระองค์ พระองค์ท่านนี้ สรรพสิ่งอยู่ใต้อำนาจของพระองค์จนกว่าจะทรงนำพระองค์และสรรพสิ่งทั้งหลายให้เข้ามาอยู่ใต้อำนาจของพระบิดา ทั้งนี้เพื่อให้พระเป็นเจ้าทรงเป็นทุกสิ่งในทุกสิ่ง (1 ดร 15:27-28) อำนาจอันนี้ พระองค์ได้ถ่ายทอดให้แก่พวกสานุศิษย์เพื่อพวกเขาจะได้อิสรเสรีอย่างกษัตริย์และเพื่อให้พวกเขา เมื่อได้เสียสละตนเองและบำเพ็ญชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์ เขาจะมีชัยต่อราชัยของบาปที่ตั้งอยู่ในตัวเอง (รม 6:12) ยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อให้เขารับใช้คนอื่น เพราะเห็นแก่พระคริสตเจ้า อาศัยความสุภาพถ่อมตนและความเพียรอดทน เขาจะได้นำพวกพี่น้องเข้าเฝ้าพระราชา ซึ่งผู้ใดรับใช้พระองค์ผู้นั้นก็เป็นกษัตริย์ พระคริสตเจ้ามีพระประสงค์ให้แม้กระทั่งสัตบุรุษฆราวาสทำการงานขยับขยายพระราชัยของพระองค์ให้แผ่ไพศาลออกไป

          เพราะฉะนั้นบรรดาฆราวาสผู้อยู่ในแนวหน้า สันทัดในกิจการฝ่ายโลก ความอุตสาหะทำการงาน พร้อมทั้งพระหรรษทานต่างๆของพระคริสตเจ้าของพระคริสตเจ้าที่เขามีอยู่ย่อมค้ำชูเขาขึ้น คอยช่วยเหลืออยู่ภายในตัวเขา

         นอกนั้นพวกฆราวาสเมื่อรวมกำลังกันยังสามารถบำบัดรักษาองค์กรและสถานะต่างๆของโลกเมื่อมันโน้มนำไปสู่บาป เขาจะนำให้สิ่งต่างๆเหล่านี้เข้ามาสู่หลักความยุติธรรมแล้วช่วยสนับสนุนคุณธรรม แทนที่จะเป็นอุปสรรคขัดข้อง...

 

        สังคายนาวาติกันที่ 2 ในพระสมณะกฤษฎีกาว่าด้วย การแพร่ธรรมของฆราวาส (APOSTOLICAM ACTUOSITATEM) กล่าวถึงความสำคัญของฆราวาสในเรื่องงานแพร่ธรรม (ข้อ 21) ว่า "ถ้ายังไม่มีคณะฆราวาสที่เป็นฆราวาสจริงๆทำงานร่วมกับพระธานานุกรม ก็ถือว่าเป็นพระศาสนจักรยังไม่ได้ตั้งขึ้นอย่างแท้จริง ยังไม่มีชีวิตอย่างเต็มที่และยังไม่เป็นเครื่องหมายอันสมบูรณ์บอกพระคริสตเจ้าในหมู่มนุษย์ ข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้าจะหยั่งรากลึกลงไปในจิตใจ ชีวิตและงานของชาติใดชาติหนึ่งไม่ได้ถ้าไม่มีฆราวาสทำงานอย่างขันแข็ง หน้าที่สำคัญของฆราวาสทั้งหญิงและชายคือการเป็นองค์พยานประกาศพระคริสตเจ้า ซึ่งเขาต้องทำด้วยการดำรงชีวิตและคำพูดในครอบครัวในกลุ่มสังคมและในวงงานอาชีพ เพราะว่าในตัวเขาเหล่านั้นต้องปรากฎตัวมนุษย์คนใหม่ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความเที่ยงธรรมและความศํกดิ์สิทธ์อันแท้จริงตามแบบพระเป็นเจ้า (อฟ 4:24) ฆราวาสต้องร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อนร่วมชาติด้วยความรักอย่างจริงใจ เพื่อให้   พันธะใหม่ที่ต้องร่วมใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามที่รหัสธรรมเรื่องพระคริสตเจ้าสอนนั้นปรากฏในความประพฤติของเขา ฆราวาสยังต้องถ่ายเทความเชื่อถึงพระคริสตเจ้าในหมู่ผู้ที่ตนผูกพันอยู่ด้วยชีวิตและอาชีพ"

  

1.2     ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร

กฎหมายพระศาสนจักรกล่าวถึงฆราวาสโดยเฉพาะในบรรพ 2 (ประชากรของพระเจ้า) ภาค 1 (คริสตชน) ลักษณะที่ 2 : หน้าที่และสิทธิของคริสตชนฆราวาส มาตรา 224-231 โดยสามารถแบ่งเป็นสาระสำคัญ ดังนี้

 

1.2.1 งานแพร่ธรรมของฆราวาส : ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 225 วรรค 2 กล่าวว่า "ฆราวาสแต่ละคนมีหน้าที่ตามสถานภาพของตนในการทำให้ระเบียบของกิจการฝ่ายโลกซึมซาบและสมบูรณ์ไปด้วยจิตตารมย์แห่งพระวรสาร ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นพยานถึงพระคริสต์ในลักษณะพิเศษ โดยการประกอบธุรกิจ รวมทั้งโดยการปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายโลกนั่นเอง"

        กฎหมายที่ต้องการบอกถึงสิทธิและหน้าที่ของฆราวาสโดยบอกถึงแนวทางแห่งการแพร่ธรรมด้วยกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 224-231

          พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกปัจจุบัน (GAUDIUM ET SPES) ข้อ 43,2 กล่าวว่า "อาชีพและงานทางโลกเป็นของฆราวาส โดยเฉพาะแม้ว่าไม่ใช่อย่างเด็ดขาดทีเดียว ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติงานเป็นคนๆก็ดีหรือเป็นหมู่ๆก็ดี ในฐานะเป็นพลโลก ฆราวาสมิใช่แต่ต้องถือกฎที่ได้แก่แต่ละวิชาเท่านั้น แต่ควรเอาใจใส่หาความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงใส่ตัวในวิชานั้นๆด้วย ฆราวาสควรเต็มใจร่วมมือกับผู้ที่มุ่งถึงจุดหมายอันเดียวกัน เมื่อฆราวาสสำนึกถึงสิ่งที่ความเชื่อเรียกร้องให้ทำและประกอบด้วยกำลังของความเชื่อแล้ว เมื่อมีโอกาสเขาไม่ควรลังเลใจที่จะคิดการริเริ่มใหม่ๆและทำจนสำเร็จลุล่วงไป..."

        ข้อ 43,4 กล่าวว่า "ฆราวาสต้องมีส่วนร่วมในชีวิตทั่วไปของพระศาสนจักรอย่างแข็งขันนั้น มิใช่แต่ต้องชุบโลกให้มีจิตตารมณ์ตามพระคริสตธรรมเท่านั้น แต่ยังได้รับเรียกมาให้เป็นพยาน ประกาศพระคริสตเจ้าในทุกกรณีและในท่ามกลางประชาคมมนุษย์ด้วย"

 

1.2.2 สิทธิและหน้าที่ของฆราวาส : กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 224 กล่าวว่า "นอกจากหน้าที่และสิทธิที่คริสตชนทุกคนพึงมีตามปกติและตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตราอื่นๆ คริสตชนฆราวาสยังมีหน้าที่และสิทธิต่างๆตามที่มีบัญญัติไว้ในมาตราต่างๆของลักษณะนี้" (ลักษณะ 2 : หน้าที่และสิทธิของคริสตชนฆราวาส)

          ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรที่เกี่ยวข้องกับฆราวาสอื่นๆมีดังนี้

          กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 207 วรรค 1 กล่าวว่า "โดยการกำหนดของพระเป็นเจ้า ในพระศาสนจักรมีคริสตชนที่เป็นศาสนบริกรศักดิ์สิทธิ์ (SACRED MINISTER) ซึ่งตามนัยบอกฎหมายเรียกว่า สมณะ (CLERIC) ส่วนคริสตชนอื่นเรียกว่า ฆราวาส"

        ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรานี้ต้องการบอกว่าในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกของเราจะประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นฆราวาสและสมณะหรือนักบวชหรือผู้ที่ได้รับการเสก สมาชิกของพระศาสนจักรส่วนใหญ่เป็นฆราวาส ฆราวาสจึงต้องสำนึกถึงหน้าที่ของตนอย่างดี ดูจากปฏิทินคาทอลิกปี 2550/2007 บอกสถิติคาทอลิกในประเทศไทยไว้ว่ามีจำนวนคาทอลิกหรือฆราวาส 332,227คน มีพระสงฆ์ 714 องค์ภราดา 114 ท่านภคินีหรือซิสเตอร์ 1,494 ท่าน

ถ้าเราคิดเป็นค่าทางคณิตศาสตร์จะสรุปได้ว่า พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยประกอบด้วยฆราวาสร้อยละ 99.31 ผู้ถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าหรือสมณะคิดเป็นร้อยละ 0.69 ตัวเลขทางด้านคณิตศาสตร์นี้ปรากฎให้เห็นชัดว่าฆราวาสคือสมาชิกส่วนใหญ่ของพระศาสนจักร ฆราวาสคือพลังของพระศาสนจักรจริงๆ

          กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 208-223 จะกล่าวถึงทุกคน กล่าวคือทั้งสมณะและฆราวาส ส่วนกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 225-231 กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของฆราวาสซึ่งเราจะศึกษาในบทต่อไป กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 759 กล่าวว่า "คริสตชนฆราวาส โดยเหตุที่ได้รับศีลล้างบาปและศีลกำลังก็เป็นพยานถึงข่าวดีแห่งพระวรสารทั้งด้วยวาจาและด้วยตัวอย่างแห่งชีวิตคริสตชน พวกเขายังสามารถได้รับเชิญให้เข้าร่วมกับพระสังฆราชและพระสงฆ์ในการปฏิบัติศาสนบริกรพระวาจาด้วย"

          กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1282 และ 1287 วรรค 1 กล่าวถึงงานดูแลและบริหารทรัยพ์สินของพระศานจักรโดยฆราวาส โดยมาตรา 1282 กล่าวว่า "ทุกคนไม่ว่าจะเป็นสมณะหรือฆราวาส จึงมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพย์สินฝ่ายพระศาสนจักร โดยตำแหน่งอันชอบด้วยกฎหมาย ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนในนามของพระศาสนจักร ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย"

          กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1287 วรรค 1 กล่าวว่า "โดยตำหนิประเพณีที่ตรงกันข้าม ผู้บริหารทั้งที่เป็นสมณะและฆราวาสซึ่งทำหน้าที่บริหารทรัพย์สินฝ่ายพระศาสนจักรใดๆไม่ว่า ที่มิถูกถอนออกจากอำนาจปกครองของพระสังฆราชประจำสังฆมณฑลสังฆราชโดยชอบด้วยกฎหมาย มีหน้าที่ต้องส่งรายงานทุกปีแก่ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น ซึ่งท่านต้องส่งรายงานนั้นแก่คณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจเพื่อตรวจสอบ"

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...
"มีชีวิตใหม่"ข่าวดีสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ (B)วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ1. ปัสกาเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักร เป็นจุดกำเนิดของความหวังเรื่องการกลับคืนชีพและชีวิตนิรันดร์ เราฉลองวันปัสกาด้วยความภาคภูมิใจและความชื่นชมยินดีด้วยเหตุผลสามประการ...
"แห่ใบลาน"ข่าวดีวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (B)วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ 1. พระศาสนจักรฉลองสัปดาห์ที่หกในเทศกาลมหาพรต...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก