UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

        นัยของกฎหมายมาตรานี้ คือ ฆราวาสมีหน้าที่ทำงานแพร่ธรรมตามที่ได้ปฏิญาณสัญญาในเวลารับศีลล้างบาปและศีลกำลัง และการทำงานแพร่ธรรมนั้นอาจเป็นการทำแบบ
                   1.) ส่วนตัวหรือส่วนบุคคคล

                   2.) รวมกันเป็นกลุ่มหรือสมาคม องค์กร

       โดยมุ่งประกาศข่าวดีเรื่องความรอดแก่เพื่อนมนุษย์ทุกคนในโลก กล่าวอย่างง่ายๆ คือเนื้อหาที่จะประกาศ คือพระวรสาร โดยมีเป้าหมายที่กว้าง คือทุกคนในโลก ดังนั้นงานแพร่ธรรมของฆราวาสตามกฎหมายมาตรานี้จึงมีเป้าหมายที่กว้างไกลและไม่จบสิ้น งานแพร่ธรรมของฆราวาสจึงกว้างไกลและไม่จบสิ้นเพราะประชากรของพระเป็นเจ้ามีมากกว่า 6,000 ล้านคน

          กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 204 วรรค 1 กล่าวว่า "คริสตชน โดยเหตุที่ถูกผนึกเป็นหนึ่งเดียวในพระพระคริสต์ทางศีลล้างบาป รวมกันเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า เนื่องจากพวกเขามีส่วนร่วมในหน้าที่สงฆ์ หน้าที่ประกาศก หน้าที่กษัตริย์ของพระคริสต์ ตามรูปแบบของตนเอง ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้รับเรียกให้ปฏิบัติพันธะกิจ ซึ่งพระเป็นเจ้าได้มอบหมายให้พระศาสนจักรปฏิบัติในโลกตามสภาพเฉพาะของแต่ละคน"

        นัยของกฎหมายมาตรา 204 วรรค 1 คือ คริสตชนเป็นประชากรของพระเป็นเจ้าและเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรโดยทางศีลล้างบาป คริสตชนทุกคนจึงมีหน้าที่สงฆ์ ประกาศกและกษัตริย์ตามฐานะหน้าที่ของตน เช่น นักบวช พ่อบ้านแม่บ้าน ครู ข้าราชการ หน้าที่ทั้ง 3 ประการนี้ คือพันธะกิจของคริสตชนทุกคนในพระศาสนจักร

          กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 211 กล่าวว่า "คริสตชนทุกคนมีหน้าที่และสิทธิในการทำงาน เพื่อให้สารของพระเป็นเจ้าเรื่องความรอด แผ่ไปถึงมนุษย์ทุกคน ทุกยุค ทุกสมัย ทั่วพิภพ ยิ่งวันยิ่งมากขึ้น"

        นัยของกฎหมายมาตรา 211 คือ งานแพร่ธรรมเป็นสิทธิและหน้าที่ของคริสตชนทุกคน รายละเอียดของหน้าที่ คือ

          1) ประกาศข่าวดีเรื่องความรอดซึ่งเป็นเนื้อหาหลักและสำคัญ

          2) เป้าหมายของการประกาศข่าวดี คือ มนุษย์ทุกคน ทุกยุค ทุกสมัย ทั่วพิภพ

          3) สภาพความสำเร็จของการประกาศข่าวดี คือ มนุษย์ได้รับข่าวดียิ่งวันยิ่งมากขึ้น

          งานแพร่ธรรมของฆราวาสจึงไม่น่ามีการจบ แต่ยิ่งวันยิ่งมากขึ้น โดยเริ่มจากบุคคลในครอบครัว สังคม หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ประเทศ และโลก

         

        กฎหมายพระศาสนจักรอีกหนึ่งมาตราที่กล่าวถึงงานอภิบาลและแพร่ธรรมของฆราวาส คือมาตรา 216 กล่าวว่า "เนื่องจากคริสตชนทุกคนมีส่วนร่วมในพันธกิจของพระศาสนจักร จึงมีสิทธิสนับสนุนหรือค้ำจุนกิจการการแพร่ธรรมด้วยการริเริ่มด้วยตนเองตามสถานะและสภาพของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม ห้ามใช้ชื่อคาทอลิกโดยพลการในการริเริ่มใดๆ เว้นไว้แต่ว่าได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงอำนาจฝ่ายพระศาสนจักร"

          นัยของกฎหมายมาตรา 216 นี้ คือ

         1)      คริสตชนทุกคนมีหน้าที่ทำงานแพร่ธรรมซึ่งเป็นพันธกิจ(MISSION)ของคริสตชนทุกคนผู้เป็นสมาชิกของพระศาสนจักร

         2)      คริสตชนทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ช่วยเหลือกิจการงานแพร่ธรรมตามฐานะหน้าที่ของแต่ละคน

         3)      คริสตชนสามารถริเริ่มกิจกรรมงานแพร่ธรรมหรืองานช่วยเหลือแพร่ธรรมได้เสมอ

        4)      การตั้งชื่อหน่วยงาน กลุ่มหรือองค์กรโดยมีชื่อเกี่ยวกับแม่พระ นักบุญและพระเยซูเจ้า จะต้องขออนุญาตพระสงฆ์ประจำสังฆมณฑลก่อน เพราะการอ้างนามของพระเยซูเจ้า แม่พระและนักบุญต้องมีความเหมาะสม

           บทบาทงานแพร่ธรรมและอภิบาลยังปรากฎในรูปแบบพ่อแม่ทูนหัวที่ต้องอภิบาลและแพร่ธรรมลูกทูนหัวของตนเองในกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 873-874 ดังนี้

 

         1) กฎหมายมาตรา 873 กล่าวว่าคริสตชนต้องมีพ่อแม่อุปถัมภ์ทางด้านความเชื่อดังนี้ "ต้องมีพ่ออุปถัมภ์คนหนึ่ง หรือแม่อุปถัมภ์คนหนึ่งเท่านั้น หรือจะมีทั้งพ่ออุปถัมภ์และแม่อุปถัมภ์ก็ได้"

         2) กฎหมายมาตรา 874 วรรค 1 กล่าวถึง คุณสมบัติของผู้ทำงานอภิบาลและแพร่ธรรมและแพร่ธรรมในฐานะพ่อแม่ทูนหัวหรือพ่อแม่อุปถัมภ์ดังนี้ "บุคคลที่รับหน้าที่พ่อแม่อุปถัมภ์นั้นต้อง

              ก)     ได้รับการเลือกจากผู้จะรับศีลล้างบาปเอง หรือจากบิดามารดา หรือจากผู้ทำหน้าที่แทนบิดามารดาของเขาหรือถ้าขาดบุคคลเหล่านี้ ให้เจ้าอาวาสหรือศาสนบริกรเลือกแทน บุคคลที่เป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ต้องมีความเหมาะสมมีเจตจำนงรับหน้าที่นี้

              ข)      มีอายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่พระสังฆราชสังฆมณฑลได้กำหนดอายุเป็นอย่างอื่นหรือเจ้าอาวาสหรือศาสนบริกรเห็นว่ามีเหตุอันควรยกเว้นได้

              ค)      เป็นคาทอลิกที่รับศีลล้างกำลังหรือศีลมหาสนิท และเจริญชีวิตที่สอดคล้องกับความเชื่อซึ่งเหมาะสมกับบทบาทที่จะรับ

              ง)      ไม่เป็นบุคคลที่ยังต้องโทษใดๆทางการกฎหมายพระศาสนจักร ไม่ว่าโทษที่ลงทัณฑ์แล้ว หรือโทษที่ได้ประกาศโดยชอบ

              จ)      ไม่เป็นบิดาหรือมารดาของผู้ที่จะรับศีลล้างบาป"

 

3.2 งานอภิบาลและแพร่ธรรมของฆราวาสตามคำสอนของสังคายนาวาติกันที่ 2

 

3.2.1  พระสมณะกฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส(APOSTOLICAM  ACTUOSITATEM)

          3.2.1.1        บทนำ : พระสมณะกฤษฎีกาฉบับนี้ สภาสังคายนามุ่งจะบรรยายธรรมชาติ ลักษณะ และประเภทต่างๆของการแพร่ธรรม โดยฆราวาสมุ่งจะแถลงหลักการขั้นพื้นฐานและให้คำแนะนำในด้านอภิบาลสัตบุรุษเพื่อทำให้การแพร่ธรรมได้ผลดียิ่งขึ้น

          3.2.1.2        ข้อ 24 กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของพระฐานานุกรมที่จะต้องส่งเสริมการแพร่ธรรมชองฆราวาส ให้หลักการและช่วยเหลือทางฝ่ายวิญญาณชักนำให้ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของพระศาสนจักรและเอาใจใส่ให้ถือตามคำสอนและบทบัญญัติขั้นมูลฐาน

 

3.2.2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร (LUMEN GENTIUM)

          3.2.2.1        หน้าที่ของฆราวาสในการทำงานแพร่ธรรม ปรากฏอยู่ในข้อ 33 ความว่า เพราะฉะนั้น ฆราวาสทุกคนจึงมีภาระอันสูงศักดิ์ บังคับให้เขาออกแรง ทำงานเพื่อบรรลุตามความประสงค์ของพระเป็นเจ้าโดยนำเอาความรอดไปสู่มนุษย์ทุกๆคน ทุกๆสมัย ทุกๆแห่งหน และยิ่งวันยิ่งมากขึ้น ฉะนั้นจึงต้องเปิดทางทุกๆด้านให้พวกฆราวาสเองเข้ามาร่วมมือทำงานตามพละกำลังของเขาและตามความจำเป็นของกาลเวลา ในภารกิจของพระศาสนจักรเอง กล่าวคือ งานบันดาลความรอดพ้นโดยอาศัยพวกฆราวาสร่วมมือลงแรงด้วย

         3.2.2.2        ข้อ 36 กล่าวถึงหน้าที่ของฆราวาสในการสนับสนุนงานแพร่ธรรมในองค์กรคาทอลิก "นอกนั้นพวกฆราวาส เมื่อรวมกำลังกัน ยังสามารถบำบัดรักษาองค์การและสถานะต่างๆของโลกเมื่อมันโน้มนำไปสู่บาป เขาจะนำสิ่งต่างๆเหล่านี้เข้ามาสู่หลักความยุติธรรมและช่วยสนับสนุนคุณธรรม แทนที่จะเป็นอุปสรรคขัดขวาง การปฏิบัติดังนี้เป็นการทำความเจริญแก่วัฒนธรรมและทำให้การปฏิบัติงานของมนุษย์ดีชอบ ชุ่มฉ่ำด้วยคุณค่าของศีลธรรมโดยการกระทำอย่างนี้เองอีกด้วย เนื้อนาของโลกจะสรรพพร้อมที่จะรับเมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจาของพระป็นเจ้า และประตูในสถานที่ต่างๆจะเปิดอ้าเพื่อต้อนรับพระศาสนจักร เป็นทางนำสันติสุขเข้ามาสู่โลกจักรวาล"

 

3.2.3 พระสมณะกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร (Ad GENTES)

          กล่าวถึงหน้าที่แพร่ธรรมของฆราวาส ปรากฏในข้อ 21 ความว่า "หน้าที่สำคัญของฆราวาสทั้งชายและหญิง ก็คือการเป็นองค์พยานประกาศพระคริสตเจ้า ซึ่งเขาต้องทำด้วยการดำรงชีวิตและคำพูดในครอบครัว ในกลุ่มสังคมและในวงงานอาชีพ เพราะว่าในตัวเขาเหล่านั้นจะต้องปรากฏตัวมนุษย์คนใหม่ซึ่งสร้างขึ้นด้วยความเที่ยงธรรมและความศักดิ์สิทธิ์อันแท้จริงตามแบบพระเป็นเจ้า (อฟ 4:24) เขาต้องสำแดงให้เห็นชีวิตใหม่ในวงสังคมและวัฒนธรรมของบ้านเมืองตามประเพณีนิยมของชาติ เขาต้องรู้จักวัฒนธรรมที่กล่าวนี้ ต้องชำระให้บริสุทธิ์บำรุงรักษาให้งอกงามตามสถานการณ์ใหม่ ทำให้สมบูรณ์ดีพร้อมในพระคริสตเจ้า แล้วดังนี้ ความเชื่อถือพระคริสตเจ้ากับชีวิตของพระศาสนจักรก็ไม่ใช่สิ่งที่สังคมซึ่งเขามีชีวิตอยู่ไม่รู้จักอีกต่อไป แต่จะซึมซาบเข้าไปในสังคมและทำให้สังคมนั้นเปลี่ยนแปลงไป"

 

3.3 คำสอนของพระสันตะปาปาในเรื่องงานอภิบาลและแพร่ธรรมของฆราวาส

          ผู้เขียนขอนำเสนอเฉพาะคำสอนที่สำคัญๆเท่านั้น ดังต่อไปนี้

 

           3.3.1  พระสมณสารเรื่องการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบันโดยพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 6 (EVANGELII NUNTIANDI) ทรงกล่าวถึงงานแพร่ธรรมของฆราวาสในข้อที่ 70 ว่า "ฆราวาสมีกระแสเรียกที่กำหนดให้เขาอยู่ในกลางโลกและต้องทำงานฝ่ายโลกซึ่งมีมากมายหลายอย่างต่างชนิด ฉะนั้นเขาจะต้องทำงานประกาศพระวรสารแบบพิเศษเฉพาะ   งานใกล้มือที่มีให้เขาทำเป็นขั้นแรกนั้น ไม่ใช่การก่อตั้งและพัฒนากลุ่มคริสตชน นั่นเป็นหน้าที่ของผู้อภิบาลสัตบุรุษ แต่เป็นการนำเอากำลังความสามารถทุกๆอย่างอันเป็นของพระคริสตเจ้า และขอพระวรสารออกมาใช้กำลังความสามารถเหล่านั้นซ่อนเร้นอยู่ แต่ออกฤทธิ์และมีแฝงอยู่ในกิจกรรมต่างๆของโลกแล้ว ซึ่งฆราวาสจะทำการประกาศพระวรสารนั้น ก็คือโลกกว้างและยุ่งยากแห่งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ ความสัมพันธ์กันระหว่างชาติ สื่อมวลชน ตลอดจนกิจการอื่นบางเรื่องที่จะต้องปรับให้ถูกแนวพระวรสาร เช่น เรื่องความรักประสามนุษย์ ครอบครัว การอบรมเด็กและคนวัยรุ่น งานอาชีพ ความทุกข์ทรมาน ถ้าฆราวาสผู้ร่วมทำงานในเรื่องเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากจิตตามรมณ์พระวรสาร ถ้าเขาสามารถเข้าใจดีถึงงานและแน่วแน่ในการนำพลังขององค์พระคริสตเจ้าที่หลายครั้งซ่อนเร้นและเงียบสงบในตัวพวกเขา ดังนี้แล้วกิจกรรมของพวกเขาจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเสริมสร้างพระราชัยของพระเป็นเจ้าและในการนำความหลุดพ้นในองค์พระคริสต์ ดังนี้กิจกรรมฝ่ายโลกของพวกเขาสัมฤทธิ์ผลและไม่เสื่อมลง ตรงกันข้ามจะทำให้พวกเขาพบความสำเร็จอันสูงส่งในกิจการงานใหม่นี้ "

         3.3.2  พระสมณสารเรื่องครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบันโดยพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 (FAMILIARIS CONSORTIO) ทรงกล่าวถึงการแพร่ธรรมของฆราวาสแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในรูปแบบการดำเนินชีวิตครอบครัวในข้อที่ 1.3 การแพร่ธรรมของฆราวาสความว่า "แนวความคิดหลักอันที่สามซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในพระสมณสาร ก็คือ บทบาทของฆราวาสในภารกิจต่างๆของพระศาสนจักร ดังนั้นเราจึงควรมาสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านความหมายของคำๆนี้ในเทววิทยาที่เกี่ยวกับฆราวาส พระสันตะปาปาปีโอที่ 10 ได้ทรงพูดถึงฆราวาสเป็นฝูงแกะที่อ่อนน้อมต่อการนำของคนเลี้ยงแกะ พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ได้ก่อตั้งกิจการคาทอลิกและทรงกระตุ้นให้ฆราวาสมีส่วนร่วมในภารกิจแพร่ธรรมของพระศาสนจักร แต่ในฐานะที่ได้เป็นผู้รับมอบหมายจากพระสังฆราช พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 สังคายนาวาติกันที่ 2 และพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ก็ได้ขยายความภารกิจเฉพาะของฆราวาสในโลกว่าบทบาทนี้ไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ผู้รับผิดชอบทางศาสนากำหนดให้เท่านั้น แต่เป็นผลโดยตรงมาจากศีลล้างบาป"

 

         3.3.3  พระสมณสารเรื่องพระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่2 (REDEMPTORIS MISSIO) พระองค์กล่าวถึงฆราวาสทุกคน คือธรรมทูต โดยอาศัยอำนาจแห่งศีลล้างบาป ข้อ 71 กล่าวว่า "พระสันตะปาปาหลายพระองค์ในยุคหลังมานี้ ได้เน้นเป็นอันมากในเรื่องความสำคัญของบทบาทฆราวาสในกิจกรรมแพร่ธรรมในพระดำรัสเตือนเรื่อง CHRISTIFIDELES LAICI ข้าพเจ้าก็เช่นกัน ได้พูดอย่างชัดเจนถึง "พันธกิจการแพร่ธรรมถาวร ซึ่งก็คือการนำพระวรสารไปเผยแพร่แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งมีจำนวนเป็นล้านๆคนทั้งชายและหญิงที่ยังไม่ได้รู้จักพระคริสต์ผู้ไถ่กู้มนุษย์ให้รอด" และได้พูดถึงการผูกพันตนของสัตบุรุษฆราวาสในเรื่องเดียวกันนี้ด้วย งานแพร่ธรรมสู่นานาชาติ เป็นงานที่เกี่ยวพันไปถึงประชากรทั้งปวงของพระเจ้า ถึงแม้ว่าการก่อตั้งพระศาสนจักรใหม่ๆจะเรียกร้องให้ต้องมีศีลมหาสนิทซึ่งหมายถึงศาสนบริการของผู้เป็นสงฆ์ กิจการแพร่ธรรมซึ่งปฏิบัติได้ในรูปแบบหลากหลาย ก็ยังตกเป็นภาระหน้าที่ของสัตบุรุษทุกคน"     

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...
"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก