UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

    ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นดัง “ประตูสู่ความศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเชิญผู้คนมามีประสบการณ์และพบกับความหมายชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง ผ่านทางความเชื่อ เครื่องหมาย ท่าทาง สิ่งของ คำกล่าว รูปภาพ เสียง บุคคล หรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น การเทน้ำล้างบาป การปกมือ การเจิม ศาสนบริกรน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ ผ้าขาว เป็นต้น

    ในพระคัมภีร์ไม่มีบันทึกและพระเยซูเจ้าก็ไม่ได้สอนเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์แบบชัดเจน แต่พระศาสนจักรได้ใช้พระคัมภีร์ รวมถึงธรรมประเพณีของชนอิสราเอล จักรวรรดิโรมัน และกลุ่มคริสตชนในสมัยแรก ๆ เพื่ออธิบาย ขยายความพัฒนาคำสอนและพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการ

    สมัยปิตาจารย์ (ศต.2-6) ได้พัฒนาพิธีกรรมเกี่ยวกับศีลล้างบาปและพิธีบิปังโดยอาศัยพื้นฐานในพระคัมภีร์และพิธีกรรมของชนต่างศาสนา  ในช่วงของนักบุญออกัสติน แม้จะมีปัญหากับพวกที่ปฏิเสธและสอนผิดความเชื่อคาทอลิก แต่เป็นโอกาสได้พัฒนาคำสอนของศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับผลของศีลศักดิ์สิทธิ์ คือ นำพระหรรษทานและตราประทับนิรันดร ในสมัยกลาง(ศต.7-12) แม้จะมีการแยกกันระหว่างพระศาสนจักรทางตะวันออก (ออธอดอกซ์)และตะวันตก (โรมันคาทอลิก) แต่การประกอบพิธีกรรมศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆเริ่มเป็นรูปแบบมากขึ้นและนักบุญโทมัส อะไควนัส ได้สรุปศีลศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นพลังเหนือธรรมชาติที่ทำให้มนุษย์มีสัมพันธภาพกับหรรษทานของพระเจ้า

    ปลายยุคกลางพระสงฆ์นักบวชหลายกลุ่มสอนผิดเพี้ยนและหาประโยชน์จากความเชื่อของสัตบุรุษ โดยเฉพาะเรื่องพระคุณการุณย์ ไฟชำระ ฯลฯ จนถูกท้าทายจากพวกปฏิรูปโดยการนำของมาร์ตินลูเธอร์ เรื่อยมา (ศต.12-16) จนทำให้พระศาสนจักรต้องทบทวนตนเองและเริ่มทำการปฏิรูปภายใน โดยกลับไปสู่รากฐานแท้ นั่นคือ พระคัมภีร์และธรรมประเพณีเดิมของพระศาสนจักร สังคายนาสำคัญแห่งเมืองเตรนท์ได้ประกาศจำนวนศีลศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจักรคาทอลิกว่ามีทั้งหมด 7 ประการ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับความรอด หล่อเลี้ยงความเชื่อ เป็นตราประทับฝ่ายวิญญาณ และนำพระหรรษทานให้กับผู้รับแต่ละคนโดยเฉพาะ หลังจากสังคายนาเมืองเตรนท์มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ จนถึงสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 (ศต.20) จึงเกิดการปฏิรูปใหญ่ในหลายเรื่องรวมถึงศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการเข้าสู่วัฒนธรรม (Inculturation) เช่น อนุญาตให้ถวายมิสซาเป็นภาษาท้องถิ่นได้จากเดิมที่เป็นภาษาลาตินเท่านั้น อีกทั้งมีการแปลบทพิธีกรรม บทสวด บทเพลงเป็นภาษาของแต่ละชาติ เป็นต้น


   เทววิทยาเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์สรุปได้ว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นภารกิจเชิงสัญลักษณ์ของพระศาสนจักร เครื่องหมายแห่งพระหรรษทาน ที่นำเราพบกับพระคริสตเจ้าผ่านทางพิธีกรรมรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงเราสู่ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตคริสตชน และพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นบ่อเกิดและจุดศูนย์รวมของศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ซึ่งอาจสรุปให้ชัดเจนได้ดังนี้

ศีลศักดิ์สิทธิ์    พระเยซูคริสตเจ้า        ผลและภารกิจของศีลศักดิ์สิทธิ์
ศีลล้างบาป     ผู้ลบล้างบาป                    ความเชื่อ (Faith)
ศีลกำลัง         ผู้ประทานพละกำลัง          ความเพียรทน (Perseverance)
ศีลมหาสนิท    ผู้ประทับอยู่อย่างแท้จริง     การอุทิศตน (Self-giving)
ศีลอภัยบาป     ผู้นำการคืนดี                   การสำนึกผิด (Penitence)
ศีลเจิมผู้ป่วย    ผู้เยียวยา                        ความบริบูรณ์ (Wholeness)
ศีลบรรพชา      ผู้เป็นสงฆ์สูงสุด               การรับใช้ (Service)
ศีลสมรส         ผู้เป็นองค์ความรัก             ความรัก (Love)

    ศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละประการ จึงมีพระหรรษทานและภารกิจเฉพาะ ซึ่งจะช่วยนำคริสตชนสู่ความสมบูรณ์และความศักดิ์สิทธิ์ โดยมีองค์พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นศูนย์กลาง และมีพระศาสนจักรทรงเป็นเครื่องมือและศาสนบริกรของพระองค์

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...
"มีชีวิตใหม่"ข่าวดีสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ (B)วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ1. ปัสกาเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักร เป็นจุดกำเนิดของความหวังเรื่องการกลับคืนชีพและชีวิตนิรันดร์ เราฉลองวันปัสกาด้วยความภาคภูมิใจและความชื่นชมยินดีด้วยเหตุผลสามประการ...
"แห่ใบลาน"ข่าวดีวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (B)วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ 1. พระศาสนจักรฉลองสัปดาห์ที่หกในเทศกาลมหาพรต...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก