UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

พระผู้ช่วยเหลือ  ข่าวดีสัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา  (17 พฤษภาคม2020)  พระผู้ช่วยเหลือ
ข่าวดีสัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา
(17 พฤษภาคม 2020)  

ก.ความสำคัญ
    จากวันปัสการถึงวันพระจิตเสด็จลงมา  บทอ่านต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่การเทศน์ประกาศข่าวดีเรื่องการไถ่บาปและคำสัญญาของพระเยซูเจ้าจากบรรดาอัครสาวกในยุคเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสัญญาเรื่องการประทานพระจิตให้เป็นพระผู้ช่วยเหลือเรา

ข.พระคัมภีร์และคำสอน
         
1.บทอ่านที่หนึ่ง (กจ. :5-8,14-17) ได้บรรยายว่าพระจิตเจ้าทรงช่วยสังฆานุกรฟีลิปในการเทศน์สอนอย่างมีพลังอำนาจและสามารถทำให้ชาวสะมาเรีย (ซื่งไม่ลงรอยกับชาวยิวตลอดมา)ได้หันมานับถือพระเยซูเจ้าจำนวนมาก และยังได้อธิบายว่าชาวสะมาเรียที่ได้รับพิธีล้างบาปแล้วได้รับพระจิตเจ้าผ่านทางการปกมือเหนือพวกเขาจากอัครสาวกเปโตรและยอห์น

         2.บทอ่านที่สอง (1ปต. 3:15-18) นักบุญเปโตรได้แสดงให้เรารู้ว่าพระจิตเจ้าจะทรงช่วยผู้ที่มีความเชื่อให้เอาชนะความกลัวและการมีชีวิตท่ามกลางการเบียดเบียนได้อย่างไร

         3.พระวรสาร (ยน. 14:15-21) นำมาจากบทเทศน์ในระหว่าง “อาหารค่ำครั้งสุดท้าย” ซึ่งบรรยายถึงของขวัญที่พระเยซูทรงวอนขอพระบิดาให้ทรงส่งพระจิต ผู้ทรงเป็น “พระผู้ช่วยเหลือ” ลงมาประทับในทุกคนที่นบนอบเชื่อฟังและปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบัญญัติแห่งความรัก นี้เองที่พระเยซูเจ้ายังคงดำรงชีวิตอยู่ในผู้เชื่อท่ามกลางพระบิดาและพระจิต ดังนั้นเราจึงไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นลูกกำพร้า การประทับอยู่ของพระเยซูในตัวเราและในพระศาสนจักรโดยผ่านทางพระจิตเจ้าจึงทำให้ชีวิตและทุกสิ่งที่เรากระทำในพระนามของพระองค์มีความหมายและมีจุดมุ่งหมาย พระจิตเจ้าในฐานะที่เป็น “พระผู้ช่วยเหลือ” จะสอนเราในหลักธรรมคำสอนของพระเยซูเจ้าและส่องแสงสว่าง (ทำให้เราเข้าใจ) สติปัญญาของเราให้น้อมรับความรู้ที่ลึกซึ้งของความเชื่อของเรา นอกจากนั้น “พระผู้ช่วยเหลือ” จะช่วยปกป้องความเชื่อของเราและทรงนำทางให้เราสามารถปฏิบัติความรักแบบคริสตชนได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเราจึงสามารถจดจำพระเยซูเจ้าได้ในคนยากจน ในคนเจ็บไข้ได้ป่วย ในคนที่ไร้ที่อยู่อาศัย ในคนชายขอบ ในคนที่ถูกรังเกียจ แม้แต่คนที่คนถูกจับกุมคุมขัง ดังนั้นเราจึงตัวแทนแห่งการเยียวยาและการคืนดีในโลกที่เต็มไปด้วยปัญหาและการแตกแยก
พระผู้ช่วยเหลือ  ข่าวดีสัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา  (17 พฤษภาคม2020)

ค.ปฏิบัติ

       จุดประสงค์ของการประทับอยู่องพระจิตท่ามกลางเราก็เพื่อช่วยเราให้เติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ที่แท้จริงตามพระประสงค์ของพระองค์ เป็นลูกที่ดีของพระองค์ท่ามกลางสังคม ดังนั้น จึงขอให้เรา

    1) “เปิดใจ” ต้อนรับพระจิตเจ้าผู้ทรงเป็นพระผู้ช่วยเหลือของเรา เราทุกคนต่างมีความบกพร่องที่ทำให้เราไม่เติบโต ซึ่งอาจจะเป็นบาปหรือความไม่สมบูรณ์แบบของเรา เช่น ความขัดแย้งกันแบบเด็ก ๆ นิสัยและความไม่ดีที่ฝังแน่นในตัวเรา การตัดสินใจโดยลำเอียงหรือใช้อารมณ์ การเลือกที่ผิด ๆ เราทุกคนมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่ขัดขวางการเติบโตฝ่ายจิตและการเป็นคนดีที่สมบูรณ์ของเรา เราไม่สามารถทำสิ่งที่พระเจ้าประสงค์ให้เราทำ จึงขอให้เรา  ก่อนอื่นหมด  เปิดใจต้อนรับพระจิตเจ้าด้วยการภาวนาวอนขอพระองค์ให้มาประทับในใจของเราเสมอ ตั้งแต่ตื่นนอนให้เราฝากตัวของเราไว้กับพระองค์เพื่อให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่บกพร่อง   

    2. “เปิดตา” ของเราให้พระจิตเจ้าทรงช่วยให้เรามองเห็นความจริงเกี่ยวกับตัวของเราเอง และมองเห็นอุปสรรคที่ทำให้เราไม่เติบโต และมองเห็นทางแก้ไขตัวเองได้อย่างถูกต้อง ให้เราภาวนาวอนขอให้พระองค์ช่วยเปลี่ยนแปลงตัวเราให้พัฒนาตัวเราให้เหมาะสมกับเป็นที่ประทับของพระองค์ คือ พระวิหารของพระจิต

    3. “เปิดหู” ของเราเพื่อรับฟังเสียงและคำแนะนำของพระจิตเจ้า เมื่อเราจะต้องทำการตัดสินใจกระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ทั้งของส่วนตัวและส่วนรวมตามพระประสงค์ของพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุดที่ช่วยให้เราได้เสมอ นี่แหละจะทำให้เราได้พัฒนาตนเองให้เติบโตตามพระประสงค์ของพระองค์

ซีนอด 2021-2023

ซีนอด 2021-2023 "พระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน"

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก