UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน


          ความเป็นหนึ่งเดียวของทั้งสามพระบุคคลนี้ เราสามารถเรียนรู้ความจริงนี้ได้จากพระคัมภีร์ ธรรมประเพณี พิธีกรรม และคำสั่งสอนของพระศาสนจักร เราเริ่มจากพระคัมภีร์ ซึ่งทำให้เราเข้าใจได้ว่า พระเยซูเจ้าทรงประทับอยู่กับพระบิดาและพระจิต และในเวลาเดียวกับ พระบิดาก็ประทับอยู่ในพระบุตรและพระจิต พระจิตก็ประทับอยู่ในพระบิดาและพระบุตร นี้แหละที่นักบุญปาโลสอนเราว่า “พระเจ้าพอพระทัยให้ความบริบูรณ์ทั้งปวงอยู่ในพระคริสตเจ้า” และ “ในองค์พระคริสตเจ้านั้น พระเทวภาพบริบูรณ์อยู่ในสภาพบริบูรณ์ที่สัมผัสได้” (คส. 1:19; 2:9)

          จากพระคัมภีร์มีการยืนยันถึงความบริบูรณ์ของพระเจ้า และมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล หรือไม่ ขอตอบว่า “มี” เราสามารถอ้างอิงได้จากบทสุดท้ายของพระวรสารมัทธิวที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนาม พระบิดา พระบุตรและพระจิต...” (มธ. 28:19) และถ้อยคำสุดท้ายของนักบุญเปาโลในบทจดหมายถึงชาวโครินธ์ฉบับที่ 2 ที่ว่า “ขอพระหรรษทานของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอความรักของพระเจ้าและความสนิทสัมพันธ์ของพระจิตเจ้าสถิตอยู่กับทุกท่านเทอญ”(2คร.13:13) ถ้อยคำจากพระคัมภีร์เหล่านี้ยืนยันว่าพระเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียว แต่ประกอบด้วยสามพระบุคคล

           เราอาจจะอธิบายความจริงนี้ได้อย่างไม่กระจ่างชัดเจนเท่าที่ใจของเราอยากจะรู้ เราต้องยอมรับว่าสติปัญญาของเรามีความจำกัดหรือเล็กเกินกว่าจะรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า แต่ถ้าเราค่อยๆไตร่ตรองข้อความเชื่อและธรรมประเพณีของเรา จะช่วยให้เราเข้าใจความลึกล้ำนี้ได้(มากขึ้น)

จากคำสอนของพระศาสนจักร เราจะเห็นพระตรีเอกภาพปรากฏอยู่ใน
          1. องค์พระเยซูเจ้า : ตามที่ได้อ้างอิงจากพระคัมภีร์ว่า “ในองค์พระคริสตเจ้านั้น พระเทวภาพบริบูรณ์อยู่ในสภาพบริบูรณ์ที่สัมผัสได้”(คส. 2:9] เรื่องการประทับอยู่ในพระบิดานี้ พระวรสารของยอห์นเผยแสดงว่า “ท่านไม่เชื่อหรือว่า เราดำรงอยู่ในพระบิดา และพระบิดาทรงดำรงอยู่ในเรา” (ยน.14:10) ส่วนเรื่องที่พระเยซูประทับอยู่ในพระจิตนั้น พระวรสารของลูกายืนยันว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้าขอมอบจิตของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” (ลก.23:46) จากนั้นพระจิตได้จากไปจากพระเยวูเจ้าและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน และนี้เป็นการยืนยัน "ร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ ย่อมตายแล้ว” (ยก.2:26) "พระจิตเจาเป็นผู้ประทานชีวิต ลำพังมนุษย์ทำอะไรไม่ได้”(ยน. 6:63)

          2. พระแม่มารีย์ทรงครรภ์ : เราทราบแล้วว่าพระจิตทรงแยกออกจากพระบุตรในชั่วขณะที่พระเยซูเจ้าทรงรับความตาย เรื่องนี้ทำให้เราทราบได้ว่าพระจิตประทับอยู่ในพระเยซูเมื่อไร เราพบคำตอบในพระวรสารของลูกาเมื่อเราอ่านเหตุการณ์ของทูตสวรรค์มาแจ้งสารแด่พระแม่มารีย์ “ท่านจะตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่ง ท่านจะตั้งชื่อเขาว่าเยซู...พระจิตจะเสด็จลงมาเหนือท่านและพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะแผ่เงาปกคลุมท่าน ”(ลก.1:31,35) จากการเผยแสดงนี้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่าพระจิตเจ้าประทับอยู่ในพระเยซูเจ้าขณะที่พระครรภ์ของพระแม่มารีย์ ภายในพระครรภ์ของพระแม่มีพระกายของพระเจ้าประทับอยู่ ซึ่งไม่มีใครได้รับอภิสิทธิ์มากเช่นนี้ บรรดานักบุญต่างได้รับพระจิตใจรูปของธรรมชาติฝ่ายจิตเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พระแม่มารีย์จึงได้รับสิทธพิเศษที่ยิ่งใหญ่ ดังที่พระแม่ภาวนาว่า “เพราะพระองค์ทอดพระเนตรผู้รับใช้ต่ำต้อยของพระองค์ ตั้งแต่นี้ไป ชนทุกสมัยจะกล่าวว่าข้าพเจ้าเป็นสุข พระผู้ทรงสรรพานุภาพทรงกระทำกิจการยิ่งใหญ่สำหรับข้าพเจ้า พระนามของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์” (ลก. 1:48b- 49)

          3. ศีลมหาสนิท : ในระหว่างการรับทานอาหารค่ำครั้งสุดท้าย พระเยซูเจ้า “ทรงหยิบขนมปัง ทรงขอบพระคุณ ทรงปิขนมปังประทานให้บรรดาสานุศิษย์ นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด”(ลก. 22:19) นี้เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่เราได้กระทำสืบทอดต่อกันมาจากกระทั่งทุกวันนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่กับเราจริงตามที่พระองค์ตรัสว่า “จงรู้ไว้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปจนสิ้นพิภพ”(มธ.28:20) ในศีลมหาสนิทเป็นการปรากฏพระองค์ของพระตรีเอกภาพอย่างแท้จริง พระบิดาและพระจิตดำรงอยู่ในพระเยซูในขณะที่พระองค์ทรงดำเนินชีวิตอยู่ในโลกนี้ และพระบิดาและพระจิตดำรงอยู่ในพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท

       
4. พิธีมิสซาขอบพระคุณ : เมื่อพระสงฆ์เริ่มการเฉลิมฉลองพิธีมิสซาฯ ท่านจะเริ่มพิธีโดยการทำเครื่องหมายกางเขน “เดชะพระนาม พระบิดา พระบุตร และพระจิต” และเมื่อถึงตอนจบพิธีฯพระสงฆ์อวยพระพรสัตบุรุษว่า “ขอพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ประทานพระพรแก่ท่าน” และในบทภาวนาระหว่างพิธีมิสซาฯ เราจะเห็นการเอ่ยพระนามหรืออ้างถึงพระตรีเอกภาพอยู่เสมอๆ ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความเชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ

        5. การอวยพร หรือ การเสกสิ่งของต่างๆ : พระสงฆ์จะภาวนาและทำพิธีเสกสิ่งของ ไม่ว่าจะเป็นวัด โรงเรียน บ้าน โรงพยาบาล ท้องทุ่ง ฯลฯ หรืออวยพรสัตบุรุษด้วยการเอ่ยพระนามของพระตรีเอกภาพ
 
        6. การภาวนา : ในบทภาวนาต่างๆมีการออกพระนามของพระตรีเอกภาพ เป็นต้นบท “พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระบิดา พระบุตร และพระจิต” บทภาวนานี้พวกเราสวดกันในชีวิตประจำวัน เป็นร้อยเป็นพันครั้งแล้ว

        7. บทเพลงและการขับร้อง : การภาวนาโดยออกพระนามพระตรีเอกภาพไม่ได้จำกัดอยู่แค่การภาวนาเท่านั้น แต่ยังได้แสดงออกถึงความเชื่อนี้ในบทเพลงต่างๆที่พวกเราขับร้องในระหว่างพิธีมิสซาฯ
 
        8. ศีลล้างบาป : เราทุกคนได้รับศีลล้างบาปอย่างถูกต้องในพระนามของของพระตรีเอกภาพ คือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ตามพระบัญชาของพระเยซูเจ้า ในมัทธิว 28:19

        9. พิธีกรรม : ในพิธีกรรมทุกๆอย่างของพระศาสนจักรคาทอลิก เราจะอ้างถึงการประทับอยู่ของพระตรีเอกภาพเสมอ ในศีลกำลัง ศีลเจิม ศีลอภัยบาป ศีลบวช ศีลแต่งงาน และในงานศพ ในวจนพิธีกรรม นพวาร นมัสการศีลมหาสนิท ฯลฯ

       10. ในธรรมประเพณี : เมื่อเราศึกษาประวัติของพระศาสนจักร ในยุคต้นๆ เป็นต้น ในงานเขียนของบรรดาปิจารย์ ในเอกสารของการประชุมสังคยานาต่างๆมักจะลงท้ายด้วยการยืนยันถึงความเชื่อในพระตรีเอกภาพ

       11. ในตัวของพระสงฆ์/นักบวช : เมื่อพระสงฆ์ประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระเยซูเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้ประกอบพิธีนั้น พระสงฆ์เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าที่มองเห็นได้ในโลกนี้ เมื่อเรารับศีลมหาสนิทเราได้รับจากมือของพระเยซูเจ้า เมื่อรับการอภัยบาป เป็นพระเยซูเจ้าที่ทรงยกบาปให้เรา

       12. บรรดาสัตบุรุษ : ชีวิตของสัตบุรุษทุกคนก็เต็มไปด้วยการประทับอยู่ของพระตรีเอกภาพ พระจิตเจ้าประทับอยู่ในสัตบุรุษแต่ละคนที่มีชีวิตอยู่ในพระหรรษทาน(ไม่มีบาปหนัก) พระบิดาและพระบุตรประทับอยู่ในเราแต่ละคนด้วยเช่นกัน

             ก่อนที่เราจะเฉลิมฉลองพิธีมิสซาฯ ให้เราได้สำรวจตนเองว่าเราได้สำนึกถึงการประทับอยู่ของพระตรีเอกภาพมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น ทุกครั้งที่เราทำเครื่องหมายสำคัญมหากางเขน เราได้กระทำด้วยความตั้งใจและด้วยความเคารพหรือไม่

           ให้เราวอนของพระตรีเอกภาพ ขอให้พระองค์ทรงนำทางเราให้สามารถประพฤติตนได้อย่างเหมาะสมกับการที่จะได้รับชีวิตนิรันดร



บทเทศน์วันอาทิตย์

"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...
"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก