UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

Maximum Illud คือสมณลิขิตของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ที่ทรงประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1919 ในปีที่ 6 แห่งสมณะสมัยของพระองค์ ซึ่งเป็นต้นแบบของสมณสารที่เกี่ยวกับงานแพร่ธรรมในสมัยต่อๆมา

               สาเหตุที่พระองค์ทรงเขียนสมณลิขิตฉบับนี้ขึ้นก็เพราะพระองค์ทรงมีความรู้สึกเสียใจที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง(1914-1918) ทำให้คนจำนวนมากต้องตายและเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงไปทั่วทวีปยุโรป นอกจากนั้นบรรดาธรรมทูตจากยุโรปมักจะนำเอาวัฒนธรรมประจำชาติของตนไปครอบงำผู้คนในประเทศต่างๆ จนทำให้คนเกิดความรู้สึกว่าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาของคนยุโรปหรือเป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนท้องถิ่นนั้นๆ หรือเป็นศาสนาที่มาเพื่อล่าอาณานิคม ธรรมทูตบางคนแสวงหาผลประโยชน์อื่นๆให้กับประเทศของตนแทนที่จะทำเพื่อพระศาสนจักรส่วนรวม  และในสมัยนั้นมีการค้นพบประเทศใหม่ๆ จำนวนมากซึ่งประชาชนเหล่านั้นยังไม่รู้จักพระเจ้า  ด้วยเหตุเหล่านี้พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 จึงได้ออกสมณลิขิตฉบับนี้ขึ้น

สมณลิขิต Maximun Illud ประกอบด้วย 5 ภาค 42 ข้อ ประกอบด้วย
           ภาคที่ 1 “บทนำ” (ข้อที่ 1-7) พระสันตะปาปาทรงเชิญชวนให้ทุกคนหวลคิดถึงบรรดาอัครสาวกแห่งพระวรสารผู้ที่มีส่วนทำให้งานธรรมทูตได้แพร่หลายไปตามพระบัญชาของพระเยซูที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก 16:15) พระองค์ทรงทบทวนประวัติศาสตร์งานธรรมทูตที่ผ่านมา เช่น ตัวอย่างของ น.ฟรังซิสเซเวียร์ในประเทศอินเดียและญี่ปุ่น บาโทโลมิว เดอ ลา กาซัสในทวีปอเมริกา และบุคคลอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการทำงานเพียงคนๆเดียวก็สามารถรับใช้พระเจ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบรรดาธรรมทูตจำนวนมากได้ตายเป็นมรณะสักขีเพื่อยืนยันความเชื่อ และหลายคนดำเนินชีวิตเยี่ยงนักบุญ พระองค์ยังทรงตระหนักถึงงานธรรมทูตยังดินแดนที่พบใหม่ๆ เช่น ออสเตรเลียและหมู่เกาะต่างๆ รวมถึงประเทศต่างๆ ในทวีปอัฟริกาและเอเซีย ซึ่งพระองค์ตรัสว่ายังมีผู้คนอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักพระเจ้า และทรงชี้แจงถึงจุดประสงค์สองประการของสมณลิขิตนี้ ได้แก่ ปลุกจิตสำนึกบรรดาพระสังฆราช อธิการเจ้าคณะ สงฆ์นักบวช และสัตบุรุษทุกคนให้มีความกระตือรือร้นในงานในงานธรรมทูต และแนะนำวิธีการเพื่อการทำงานธรรมทูตให้บังเกิดผล

            ภาคที่ 2 “ถึงบุคคลที่รับผิดชอบงานธรรมทูต” (ข้อ 8-17) ถึงบทบาทของพระสังฆราชในฐานะอัครสาวกมีหน้าที่โดยตรงในการขยายพระอาณาจักรของพระเจ้า ถึงบรรดาอธิการเจ้าคณะให้ใช้เครื่องมือทุกชนิดเพื่องานธรรมทูต ทั้งการพูด การกระทำ การเขียน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นสมาชิกให้ทำงานในท้องทุ่งของพระเจ้า ให้ร่วมงานกับสมาชิกด้วยความรัก เป็นทั้งผู้นำและผู้พิทักษ์ความเชื่อ เมื่องานที่หนึ่งแข็งแข็งแล้ว ให้ขยายออกไปยังสถานที่ใหม่ๆต่อไป ถ้าบุคลากรไม่พอให้หาคนจากคณะอื่นๆ มาช่วย โดยอาจจะให้ช่วยในด้านโรงเรียน โรงพยาบาล ศูนย์เด็กกำพร้า ศูนย์จิตเมตตา ฯลฯ ให้ฝึกสงฆ์นักบวชพื้นเมืองเพื่องานธรรมทูต เพราะพวกเขาเข้าใจบริบทของประชาชนและสามารถเข้าถึงประชาชนในสถานที่และสภาพการณ์ที่ธรรมทูตต่างประเทศไม่สามารถเข้าถึงได้ ที่สำคัญคือการเตรียมพวกเขาอย่างดีให้เท่าเทียมกับสงฆ์นักบวชที่ได้รับการเตรียมตัวจากยุโรป เพราะพวกเขาไม่ได้มาทำงานเป็นเพียงผู้ช่วยของธรรมทูตต่างประเทศเท่านั้น แต่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่เท่าเทียมกับธรรมทูตอื่นๆ และพระศาสนจักรจะต้องไม่ทำตนให้เป็นคนแปลกหน้า จึงต้องฝึกอบรมคนพื้นเมืองให้เข้ามาร่วมงานมากขึ้น

            ภาคที่ 3 “ถึงบรรดาธรรมทูต” (ข้อ 18-30)  บรรดาธรรมทูตที่กำลังทำงานในท้องทุ่งของพระเจ้าจงระลึกว่าพวกท่านกำลังนำแสงสว่างแห่งเมืองสวรรค์ไปให้มวลมนุษย์ ไม่ใช่ทำงานเพื่อโลกแต่เพื่อพระคริสต์ จึงต้องมีชีวิตจิตที่มั่นคง ไม่แสวงหาผลประโยชน์เพื่อประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน ตรงกันข้ามกับต้องทำงานเพื่อพระศาสนจักรส่วนรวม นอกจากนั้นธรรมทูตจะต้องอุทิศตนทำงานโดยไม่เห็นแก่ตัว หรือยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง ก่อนที่จะเข้ารับหน้าที่พวกเขาจะต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ สำหรับประชาชนทั่วๆไปแล้ว การปฏิบัติตนเป็นคนดีมีศีลธรรมมีคุณค่ามากกว่าคนรู้ทางสติปัญญา แต่อย่างไรก็ตามเขาจะต้องสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับความเชื่อที่ยุ่งยากต่างๆได้ ทั้งนี้โดยการอ่านและการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ผู้เตรียมเป็นธรรมทูตจะต้องเรียนรู้ทั้งทางธรรมได้แก่วิชาศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และวิชาทางโลกที่จำเป็นสำหรับงานธรรมทูตซึ่งมหาวิทยาลัยอูบาร์นีอานาของสมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน (1 สิงหาคม 1627) เป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมงานด้านธรรมทูต (Missiology) อย่างเป็นทางการให้กับสมาชิกของพระศาสนจักร นอกจากนั้นธรรมทูตควรเรียนรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่จะต้องไปทำงานด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญคือธรรมทูตต้องเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ให้ยึดพระเยซูเจ้าเป็นรูปแบบในการทำงาน และทรงชมเชยการอุทิศตนทำงานของบรรดานักบวชหญิง

             ภาคที่ 4 “ถึงคาทอลิกทุกคน” (ข้อ 31-40) พระสันตะปาปาทรงเน้นว่างานธรรมทูตไม่ได้เป็นงานของบรรดาธรรมทูตเท่านั้น แต่คาทอลิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในงานนี้ ทุกคนสามารถช่วยได้ในสามรูปแบบด้วยกัน คือ การภาวนาเพื่องานธรรมทูต การสนับสนุนกระแสเรียก และการช่วยเหลือทางด้านวัตถุปัจจัย

              นอกจากนั้นพระสันตะปาปายังได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสมณองค์กรที่รับผิดชอบบริหารจัดการงานธรรมทูตของพระศาสนจักร ได้แก่ สมณกระทรวงการประกาศพระวรสารสู่ปวงชน ซึ่งมีสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม หรือ PMS (Pontifical Mission Societies) เป็นหนึ่งในการรับผิดชอบฯ ซึ่งยังประกอบด้วยสมณองค์กรย่อยอีกสี่สมณองค์กร ได้แก่ สมณองค์กรเผยแพร่ความเชื่อ ( Society for the Propagation of the Faith) มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนงานด้านการเงินที่จำเป็นในการเผยแพร่ความเชื่อ ทั้งในพระศาสนจักรที่จัดตั้งขึ้นแล้วและพระศาสนจักรที่กำลังจัดตั้งขึ้นในอนาคต ในโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานแพร่ธรรม เช่นการสร้างโบสถ์ การสนับสนุนครูคำสอน สื่อมวลชน ฯลฯ สมณองค์กรยุวธรรมทูต (Association of the Holy Childhood) สมณองค์กรนี้ให้ความช่วยเหลือบรรดาเด็กๆ ให้ได้รับศีลล้างบาปก่อนตาย สนับสนุนเด็กๆให้มีความเชื่อมั่นคง และเรียนรู้ที่จะเป็นธรรมทูต พร้อมที่จะแบ่งปันความเชื่อให้ผู้อื่น สมณองค์กรนักบุญเปโตรอัครสาวก (Society of St. Peter the Apostle) เป็นสมณองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและการฝึกอบรมพระสงฆ์นักบวชท้องถิ่นเพื่องานธรรมทูต และสมณองค์กรสหพันธ์ธรรมทูตของพระสงฆ์และนักบวช (Missionary Union of the Clergy) เป็นสมณองค์กรเพื่อช่วยทำให้พระสงฆ์นักบวชมีความพร้อมและความสามารถในการทำงานธรรมทูตเพื่อความรอดของคนที่ไม่ได้เป็นคาทอลิกและสนับสนุนงานของสันตสำนักในงานธรรมทูต

             ภาคที่ 5 “บทสรุป” (ข้อ 41-42) พระสันตะปาปาทรงคาดหวังว่างานธรรมทูตจะต้องประสบผลสำเร็จถ้าทั้งบรรดาธรรมทูตและสัตบุรุษร่วมมือกัน ปัญหา ความขัดแย้งและบาดแผลจากสงครามโลกจะได้รับการเยียวยาโดยเร็ว เราพร้อมที่จะปฏิบัติตามเสียงของพระองค์ที่ว่า “จงแล่นเรือออกไปที่ลึก” (ลก 5:4) ขอพระมารดาของพระเจ้า ราชินีแห่งอัครสาวกสดับฟังคำภาวนาของเราและวอนขอพระจิตเจ้าทรงช่วยพระสงฆ์นักบวชและสัตบุรุษในงานธรรมทูตนี้ด้วย

***ข้อสังเกต: สมณลิขิต Maximun Illud ได้รับการยอมรับว่าเป็นเอกสารฉบับแรกที่ศึกษางานธรรมทูตด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และได้ให้หลักปฏิบัติพร้อมแนวทางในการทำงานแพร่ธรรม ซึ่งเป็นต้นแบบของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานธรรมทูตของพระศาสนจักรคาทอลิกอื่นๆในสมัยต่อมา

                      สมณลิขิตนี้ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ทรงให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาที่พระองค์ทรงห่วงกังวลสองประการได้แก่การที่บรรดาธรรมทูตมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันและการที่ไม่พยายามที่จะฝึกอบรมสงฆ์นักบวชพื้นเมืองในงานธรรมทูต และลักษณะของการยึดติดในชาติของตนหรือลัทธิชาตินิยมทำงานเฉพาะกลุ่มของตน

        สรุปสาระสำคัญของสมณลิขิตฉบับนี้ได้สี่ประการสำคัญ คือ
1) เน้นการให้ความสำคัญและแนวปฏิบัติแก่บรรดาผู้นำในงานธรรมทูต
2) การให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพระสงฆ์นักบวชท้องถิ่น และทำให้พระศาสนจักรเป็นสากลมากที่สุด
3) เน้นการบริหารจัดการและความร่วมมือกันในระหว่างองค์กรระดมทุนต่างๆของพระศาสนจักร
และ 4) เน้นการอบรมธรรมทูตในอนาคตให้สมบูรณ์แบบที่สุด

           คำถามที่ท้าทายสำหรับงานธรรมทูต คือ “ทำอย่างไรให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุดโดยใช้คนให้น้อยที่สุด” (to cover maximum ground with the minimum number) และ “เขตพื้นที่ที่ท่านรับผิดชอบใดที่ยังไม่ได้รับข่าวดีของพระเยซูเจ้า และจำนวนคนที่ยังไม่ได้รับข่าวสารคริสตชนมีทั้งหมดกี่เปอร์เซ็นต์”

( https://www.svdcuria.org/
https://w2.vatican.va/content/francesco/en/letters/2017/)

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...
"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก