UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

ข. พระคัมภีร์และคำสอน  

      1. บทอ่านที่หนึ่ง: โยชูอาท้าทายชาวอิสราเอลให้ตัดสินใจว่าจะมีชีวิตเพื่อรับใช้เทพเจ้าของคนต่างชาติ หรือองค์พระผู้เป็นเจ้าพระผู้สูงสุดแต่ผู้เดียวของชาวอิสราเอล ที่สุดประชาชนตอบว่า “ไม่มีวันที่เราจะละทิ้งองค์พระผู้เป็นเจ้า....” หลังจากที่ได้ไตร่ตรองแล้วว่าพระเจ้าทรงช่วยพวกเขามากมายอย่างไร

      2. บทอ่านที่สอง: น.เปาโลเน้นถึงความเป็นหนึ่งเดียวที่ต้องอยู่เหมือนอวัยวะต่างๆในพระกายทิพย์ของพระเยซูเจ้าและความสนิทชิดเชื้อระหว่างพระเยซูเจ้ากับสานุศิษย์ของพระองค์ น.เปาโลยังได้ท้าทายสามีภรรยาให้วางพื้นฐานชีวิตครอบครัวด้วยความเคารพและความรักต่อกันและกัน น.เปาโลยังได้ใช้ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาเพื่ออธิบายเปรียบเทียบระหว่างพระเยซูคริสต์กับพระศาสนจักร

      3. พระวรสาร: พระเยซูเจ้าทรงท้าทายผู้ฟังชาวยิวให้ตัดสินใจเลือกพระองค์ว่าทรงเป็นปังแท้จากสวรรค์ ผู้ที่มอบร่างกายและโลหิตให้เป็นอาหารสวรรค์แก่พวกเขาหรือไม่ เรื่องนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกันของผู้ฟัง บางคนสงสัย เคลือบแคลงใจ บางคนไม่เชื่อ พระเยซูทรงให้ศิษย์ของพระองค์ตัดสินใจเลือกที่จะคงอยู่กับพระองค์หรือจะจากไป น.เปโตรเลือกที่จะอยู่กับพระองค์โดยกล่าวว่า “พวกเราจะไปหาใครเล่า พระองค์มีพระวาจาแห่งชีวิตนิรันดร พวกเราเชื่อและรู้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์”

ค. ปฏิบัติ                

       1. “ให้เราตัดสินเลือกพระเยซู” เรามาร่วมพิธีมิสซาฯ แสดงว่าเราได้ตอบรับที่จะติดตามพระเยซูด้วยการดำเนินชีวิตตามคำสั่งสอนของพระองค์ เราจะยืนขึ้น “ประกาศยืนยันความเชื่อ” อย่างกล้าหาญพร้อมๆ กันหลังจากฟังคำเทศน์สอนของประธานในพิธีวันนี้

       2. “เรารับศีลมหาสนิท” เราเลือกที่จะเข้ารับศีลมหาสนิทเพื่อเป็นอาหารฝ่ายจิต อาหารฝ่ายจิต-อาหารจากสวรรค์และพระจิตเจ้าจะประทานความกล้าหาญ เพื่อความมั่นใจที่อยู่ข้างพระเยซูเจ้า ยอมรับคำสอนของพระศาสนจักร กล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับคำเยาะเย้ย การวิพากษ์วิจารณ์ แม้กระทั่งการต้องอยู่อย่างแตกต่างจากคนอื่นๆ ในสังคม นี้แหละคือความหมายของคำว่า “อาแมน” ที่เรากล่าวรับขณะที่เรายื่นมือออกไปรับศีลมหาสนิท เราแสดงออกโดยปราศจากเงื่อนไขท่ามกลางสัตบุรุษที่มาร่วมมิสซา หลังจากเรารับศีลมหาสนิทแล้วเราจะได้กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพระเยซูเจ้า เราจึงมีชีวิตเหมือนพระเยซูที่จะอุทิศตนเพื่อความดีของผู้อื่น

       3. “เราอ่านพระคัมภีร์” เพราะพระคัมภีร์มีประโยชน์เพื่อสั่งสอน ว่ากล่าว ตักเตือนให้ปรับปรุงแก้ไขและอบรมให้ดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรม (2ทธ3:16-17)
             
            นี่แหละเป็น “หลัก” ในการตัดสินใจเลือกในการดำเนินชีวิตของเรา คริสตชน

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก