UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

         การที่เรารับฟังอะไรโดยไม่สงสัยและตรวจสอบก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ เช่น ความเข้าใจผิดต่อกัน ความโกรธ ความเกียจชัง การติฉินนินทา การดูถูกดูแคลน ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ฯลฯ

         “ความสงสัย” จึงมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของเรา เพราะทำให้เราได้ “ค้นหาความจริง” และจากการค้นหาทำให้เราได้รับความรู้ที่ถูกต้อง นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งชื่อ เดการ์ตส์(Descartes)ได้กล่าวไว้ว่า “ความสงสัยเป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้และความจริง” ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ความสงสัยนอกจากจะก่อให้เกิดความรู้แล้ว ความสงสัยยังเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแสวงหาความเชื่อและความศรัทธาอีกด้วย

           พระวรสารของวันอาทิตย์นี้เล่าถึงสาวกของพระเยซูเจ้าคนหนึ่งที่ชื่อว่า “โทมัส” เขาไม่ได้อยู่ร่วมกับบรรดาสาวกคนอื่นๆในขณะที่พระเยซูเจ้าปรากฏพระองค์มาอยู่ท่ามกลางพวกเขา เมื่อคนอื่นๆบอกเขาว่า “พวกเราได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” เขาไม่เชื่อและยังได้พูดว่า “ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้เห็นรอยตะปูที่พระหัตถ์ และไม่ได้เอานิ้วแยงเข้าไปในรอยตะปู และไม่ได้เอามือคลำที่ด้านข้างพระวรกายของพระองค์ ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อเป็นอันขาด” หลังจากนั้นแปดวันพระเยซูเจ้าได้ปรากฏพระองค์ให้ศิษย์เห็นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้โทมัสอยู่ด้วย พระเยซูผู้ทรงกลับฟื้นคืนชีพได้ตรัสกับโทมัสโดยตรงว่า “จงเอานิ้วมาที่นี่ และดูมือของเราเถิด จงเอามือมาที่นี่ คลำที่สีข้างของเราเถิด อย่าสงสัยอีกต่อไปเลย แต่จงเชื่อเถิด” เมื่อโทมัสได้เห็นอย่างนี้จึงสารภาพหมดหัวใจว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า และพระเจ้าของข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าจึงได้ประทานคำสอนที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งให้แก่เราคือ “ท่าน(โทมัส)เชื่อเพราะว่าได้เห็นเรา ผู้ที่เชื่อ แม้ไม่ได้เห็นก็เป็นสุข”(เทียบ ยน. 20:19-31)

          หลายคนอาจจะเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อโทมัสเมื่อเห็นปฏิกิริยาของเขาต่อข่าวเรื่องพระเยซูเจ้าเสด็จมาให้เห็น โทมัสเกิดความสงสัยและต้องการพิสูจน์ มุมที่ดีของเขาก็คือ เขาไม่ได้เป็นบุคคลที่เชื่ออะไรใครง่ายๆ ไม่ได้เชื่อเพราะได้ฟังคนอื่นพูด ไม่ได้นินทาว่าร้ายใคร ไม่ได้เป็นคนเฉื่อยชา เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ใครจะเป็นอย่างไรก็ช่าง หรือเป็นคนที่ไม่รู้แต่ชอบพูดชอบแสดงความคิดเห็น

          โทมัสต้องการความชัดเจน ต้องการพิสูจน์ ต้องการหลักฐานเชิงประจักษ์
           แน่นอนความเชื่อในองค์พระเยซูเจ้านั้นไม่ได้เป็นความเชื่อที่ขาดหลักฐานหรือเหตุผลเชิงประจักษ์รองรับ แต่ความเชื่อในพระเยซูเจ้านั้นเป็นผลพวงมาจากความปรารถนาลึกๆที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน เป็นความปรารถนาที่ต้องการแสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ด้วยความปรารถนาเช่นนี้ทำให้มนุษย์เราต้องศึกษา ขบคิด ไตร่ตรอง ภาวนา ฯลฯ ซึ่งพฤติการณ์ต่างๆเหล่านี้มนุษย์เรากระทำเพื่อหาคำตอบให้กับ “ความสงสัย” ที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจของตน ใครที่ไม่เคยสงสัยเลยก็นับว่าเป็นบุญ แต่บุคคลที่สงสัยและสามารถเอาชนะความสงสัยได้ บุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อที่เข้มแข็งยิ่งนัก
เหตุผลจึงช่วยทำให้ความเชื่อเข้มแข็งได้ แต่ความเชื่อไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลแต่อย่างเดียว ความเชื่อเป็นเรื่องที่อยู่เหนือเหตุผล เราสามารถแสวงหาความเชื่อได้ด้วยหลายวิธีด้วยกัน

          อย่างไรก็ตามความเชื่อจึงไม่ได้หมายความว่าเราจะสงสัยอะไรไม่ได้ ขอให้เราดูตัวอย่างของนักบุญยอแซฟตอนที่ท่านได้รับแจ้งข่าวให้รับพระแม่มารีย์เป็นภรรยา ท่านมีความกังวลใจอย่างมาก แต่ท่านไม่ได้ยอมแพ้หรือหลีกเลี่ยงแผนการของพระเจ้า ท่านได้สวดภาวนาเพื่อขอความสว่างและแนวทางดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ด้วยความรอบคอบและชอบธรรม เพื่อให้แผนการของพระเจ้าสำเร็จไป

          อีกบุคคลหนึ่งที่ใกล้ชิดกับเรามากคือพระแม่มารีย์ พระแม่ก็มีความสงสัยถึงกับบอกว่าเรื่องที่จะให้พระแม่เป็นพระมารดาพระบุตรของพระเจ้านั้นจะเป็นไปได้อย่างไร เช่นเดียวกัน พระแม่ได้ภาวนาอย่างหนักเพื่อขอพระหรรษทานหรือความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพื่อให้พันธกิจนี้สำเร็จไปเช่นเดียวกัน
 ความสงสัยเป็นเรื่องของสติปัญญา ส่วนความเชื่อเป็นเรื่องของหัวใจ เมื่อมีความเชื่อ ความสงสัยก็หมดไป

          ความเชื่อเป็นพระพรของพระเจ้า เป็นสิ่งที่เราต้องวอนขอ “ขอให้ลูกมีความเชื่อต่อพระองค์ยิ่งๆขึ้น”
          ในบทอ่านที่หนึ่ง ได้เล่าให้เราฟังถึงผลของความเชื่อที่บรรดาคริสตชนในยุคเริ่มแรกได้ปฏิบัติต่อกันและกัน “ผู้มีความเชื่อดำเนินชีวิตเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน....ในกลุ่มของเขาไม่มีใครผู้ขัดสน” (เทียบ กจ.4:32-35)

          ป่วยการที่จะพิสูจน์ความเชื่อด้วยเหตุผล หรือด้วยสำนวนโวหาร แต่ให้ชีวิตของเราเป็นการพิสูจน์ถึงความเชื่อที่อยู่ในหัวใจของเราจะดีกว่า
          พี่น้องทั้งหลาย จะมีประโยชน์ใดหากผู้หนึ่งอ้างว่ามีความเชื่อแต่ไม่มีการกระทำ ความเชื่อเช่นนี้จะช่วยให้เขารอดพ้นได้หรือ  ถ้าพี่น้องชายหญิงคนใดขัดสนเครื่องนุ่งห่ม และไม่มีอาหารประจำวัน  แล้วท่านคนหนึ่งพูดกับเขาว่า “จงไปเป็นสุขเถิด ขอให้อบอุ่นและอิ่มเถิด” แต่มิได้ให้สิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายแก่เขา จะมีประโยชน์ใดเล่า  ความเชื่อก็เช่นเดียวกัน หากไม่มีการกระทำ ก็เป็นความเชื่อที่ตายแล้ว(ยก 2:14-17)

 

บทเทศน์วันอาทิตย์

"ตัดแต่งชีวิต"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา(B)วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ พระคัมภีร์ในวันนี้เน้นความจำเป็นของชีวิตคริสตชนที่จะจำเป็นที่จะต้องยึดติดกับพระคริสต์เจ้าเพื่อจะได้บังเกิดผลดีในชีวิต คือ ความใจดีมีเมตตา...
"ผู้เลี้ยงแกะที่ดี"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024ก.ความสำคัญ 1. อาทิตย์นี้บทอ่านทั้งสามเน้นความรักและพระทัยดีของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์โดยเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงแกะที่ดี ซึ่งคุณลักษณ์ของความรักความห่วงใยนี้สืบทอดมายังบรรดาผู้อภิบาลพระศาสนจักรในปัจจุบัน...
"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก