UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน


พระเจ้าทรงเรียกเราทุกคนให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์
         “จงชื่นชมยินดีเถิด!” คือ ถ้อยคำที่พระเยซูเจ้าตรัสไว้ในบทเทศน์บนภูเขา (The Sermon on the Mount) และเป็นหัวข้อของสมณลิขิตเตือนใจฉบับใหม่ของพระสันตะปาปาฟรังซิสพระองค์ทรงเตือนใจให้เราใช้ชีวิตด้วยความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตประจำวัน คำถามว่าทำไมเราจึงควรที่จะชื่นชมยินดีคำตอบนั้นเป็นดังที่พระสันตะปาปาทรงย้ำเตือนเรา คือเป็นเพราะพระเจ้าทรงเรียกเราทั้งหลายให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์แต่เราจะตอบรับเสียงเรียกนั้นอย่างไร

           “การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เรียกร้องให้เราต้องมาเป็นพระสังฆราชพระสงฆ์ หรือนักบวช” (ข้อ 14) เพราะทุกคนได้รับการเรียกให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้วดังที่สภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ได้ย้ำเตือนเราไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ นักเรียนหรือนักกฎหมาย อาจารย์หรือนักการทุกคนล้วนแล้วแต่สามารถที่จะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเรียกร้องให้ทุกคนจำเป็นจะต้องดำเนินชีวิตของเราด้วยความรักและเป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงพระเจ้าในทุกสิ่งที่เราทำพระสันตะปาปาทรงเขียนข้อความย้ำในทวิตเตอร์ที่ว่า “การเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เรียกร้องให้เราต้องมาเป็นพระสังฆราช พระสงฆ์ หรือนักบวช” (ข้อ 14)

          ซึ่งก็หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ถึงจะได้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงยกตัวอย่างเรื่องศีลธรรมในชีวิตประจำวัน เช่นความรักของพ่อแม่ที่ดูแลลูกๆ จนเติบใหญ่หรือการกระทำดีที่เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการสละนิสัยบางอย่าง เช่น การไม่ปลงใจไปสู่การซุบซิบนินทาถ้าเราสามารถมองชีวิตของเราเป็นเช่น พันธกิจเมื่อนั้นเราจะตระหนักได้ในไม่ช้าว่าเราสามารถใช้ความรักและน้ำใจดีให้นำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างง่ายดาย

           อย่างไรก็ตามเราก็ไม่จำเป็นต้องทำตัวเพื่อที่จะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ แบบหน้ามืดตามัวหรือ แบบก้มหน้าก้มตาทำ ไม่จำเป็นต้องแปลกแยกตัวออกจากคนอื่นๆ นอกจากนี้ต้องไม่ทำตัวเหมือนหนูบนลู่วิ่งรีบร้อนเพื่อไปถึงจุดหมายคือการเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์แต่เราควรทำตัวให้มีความสมดุลระหว่างการกระทำภายนอกกับชีวิตภายในซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง(James Martin, S.J.)


คำเตือนเกี่ยวกับเฮเรติก
         สำหรับบางคนที่ใช้เวลาส่วนมากในชุมชนวัดหรือ แม้แต่ที่เรียกกันว่า “ทวิตเตอร์คาทอลิก” ซึ่งเป็นพฤติกรรมของสัตบุรุษที่พระสันตะปาปาฟรังซิสอธิบายไว้ในสมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้อย่างไรก็ตามคำอธิบายของพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับความโน้มเอียงเหล่านี้เป็นประกฎการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเช่นเดียวกับกลุ่มเฮเรติกในสมัยก่อน นั่นคือ แนวคิดแบบนอสติกนิยม (Gnosticism) และ เพลาเจียนนิยม (Pelagianism)

          กลุ่มเฮเรติกนอสติกนิยม และ เพลาเจียนนิยม เป็นเหมือนเหรียญที่มีสองด้านเพราะรูปแบบของกลุ่มนอสติกนิยมในปัจจุบัน คือการผจญล่อลวงทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนน้อยลงต่อแนวคิดที่เป็นนามธรรมออกจากรูปธรรม ดังที่ สมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้ได้ชี้ประเด็นให้เห็น นั่นคือ “อาจจะดูเข้มงวดและมีคำสอนอันบริสุทธิ์กลมกลืน...[ความเชื่อ]และพวกเขาสามารถอธิบายถึงทุกอย่างที่เป็นไปในโลกนี้ได้” (ข้อ 38) อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วความเข้าใจผิดในยึดถือแนวคิดเช่นนี้ก็ต้องล้มเหลวเพราะไปพัวพันกับความยุ่งเหยิงของชีวิตจริง เพราะเรื่องของพระเจ้าเป็นพระธรรมล้ำลึกที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย

           บางทีสิ่งที่อาจแพร่หลายมากขึ้นในพระศาสนจักรยิ่งกว่ากลุ่มนอสติกนิยมที่หยิ่งผยองนั่นก็คือ รูปแบบใหม่ที่หลากหลายของกลุ่มเพลาเจียนนิยม กล่าวคือ ความเชื่อในพลังอำนาจความสำเร็จ และการกระทำภายนอกของตัวเราเองแต่กลับลดอำนาจแห่งความรอดพ้นและความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยแนวคิดปัจเจกบุคคล คือ “ความรู้สึกว่าอยู่เหนือคนอื่น เพราะการรักษากฎระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัดหรือการรักษาความเชื่อของคำสอนคาทอลิกที่มีลักษณะเฉพาะโดยไม่รู้จักประนีประนอมทัศนคติเช่นนี้สามารถล่อลวงเราได้ รวมทั้งการครอบงำทางความคิดที่ว่าจำต้องถือปฏิบัติตามแบบแผนพิธีกรรมของพระศาสนจักรตามตัวอักษร รวมทั้งการแสวงหาผลประโยชน์จากความยุติธรรมทางสังคมด้วยการฉวยโอกาส” (เทียบ ข้อ 57) โดยปราศจากการทรงนำด้วยพระหรรษทานและพระจิตเจ้าเราเปลี่ยนจากการมองหาพระเจ้า เป็นมองแต่ตัวเราเอง


           ในสมณลิขิตเตือนใจของพระสันตะปาปาฟรังซิสมีความเรียบง่ายที่ลึกซึ้งเราถูกเรียกให้เป็นมากกว่าที่เราเป็น นั่นคือ ประชากรของพระเจ้าเป็นการเรียกสู่ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมผลักดันเราให้สร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าอย่างกระตือรือร้น

         พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงอธิบายข้อความที่ว่า “สิ่งสำคัญ ก็คือ ผู้ที่มีความเชื่อแต่ละคนได้มองเห็นถึงหนทางของพวกเขาเองซึ่งจะทำให้พวกเขานำสิ่งที่ดีที่สุดออกมาจากตนเองที่เป็นพระพรพิเศษส่วนตัวของพวกเขา ที่พระเจ้าประทานให้ลงในจิตใจของพวกเขา” (ข้อ 11)

พระเจ้าทรงเรียกเราให้เป็นใคร
        พระเจ้าทรงเรียกเราให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างไรเราได้ยินเสียงเรียกส่วนบุคคลให้ก้าวไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ที่ดูเหมือนเป็นความจริงบนโลกในชีวิตประจำวันของเราและในการเป็นประจักษ์พยานยืนยันอย่างเรียบง่ายด้วยสัมพันธภาพในแต่ละวันกับเพื่อนบ้านของเรานั่นเอง

การสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า
         ถ้าหากเป็นการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์มีความเป็นส่วนตัวอย่างลึกซึ้งแล้ว จะไม่นำเราไปสู่การแปลกแยกเราถูกเรียกให้ไปด้วยกันนี่คือแรงผลักดันที่เป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นพระเจ้าสร้างสัมพันธภาพกับประชากรของพระองค์

         สิ่งที่บ่งบอกถึงระบบสังคมที่เป็นรากฐานและความสนิทชิดเชื้อกันดังเช่นบทภาวนาของพระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญยอห์น บทที่ 17 ข้อ 21 ที่ว่า “เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกันเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์” พระสันตะปาปาฟรังซิสย้ำเตือนว่า “เราไม่เคยที่จะสมบูรณ์เว้นแต่เราจะเป็นประชากรของพระองค์ นั่นคือเหตุผลว่าไม่มีใครถูกกอบกู้เพียงคนเดียวอย่างที่แปลกแยกเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตามพระเจ้าทรงชักจูงเราให้ไปหาพระองค์คำนึงถึงความซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีอยู่ในชุมชนสังคมมนุษย์” (ข้อ 6) และพระสันตะปาปาทรงกล่าวซ้ำทิ้งท้ายด้วยว่า “ความเจริญเติบโตขึ้นในความศักดิ์สิทธิ์ คือ การเดินทางของการอยู่ร่วมกันอยู่เคียงข้างกับผู้อื่น” (ข้อ 141) —Meghan J. Clark
การเข้าถึงจิตตารมณ์แบบอิกญาซีโอ

          งานเขียนและบทเทศน์อื่นๆของพระสันตะปาปาฟรังซิสมักจะแสดงถึงธรรมประเพณีด้านจิตตารมณ์แบบอิกญาซีโออย่างชัดเจนพระองค์ไม่ตรัสแบบอ้อมค้อม โดยตรัสว่า “ชีวิตคริสตชนคือชีวิตที่ต้องต่อสู้อยู่เสมอเราจำเป็นต้องมีพละกำลังเข้มแข็งและกล้าหาญ ที่จะอดทนต่อการผจญของปีศาจและประกาศพระวรสาร การต่อสู้นี้ช่างหวานล้ำจนทำให้เราชื่นชมยินดีในทุกๆเวลาที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชัยชนะในชีวิตของเรา” (ข้อ 158)

          คริสตชนต้องพบกับหนทาง 2 แบบ 2 มาตรฐาน กล่าวคือ ประการแรก หนทางของพระเยซูเจ้าผู้ซึ่งทำให้ความมืดปรากฏเด่นชัด นำเราไปสู่แสงสว่างนิรันดรส่วนประการที่สอง คือหนทางของปรปักษ์ที่มีแต่แสงจอมปลอมนำเราไปสู่ความมืดมิดและความผิดหวังทางเลือกปฏิบัติตนของเราไม่ใช่การเลือกหนทางแค่เพียงครั้งเดียวแต่ต้องฟื้นฟู กลับใจใหม่ทุกๆวัน ด้วยเหตุนี้ ตามพระดำรัสของพระสันตะปาปา จำเป็นต้องรู้จักการไตร่ตรองแยกแยะ (discernment) อย่างเร่งด่วนพระสันตะปาปาทรงเขียนข้อความในทวีตเตอร์นี้

         “การไตร่ตรองแยกแยะ (discernment) เรียกร้องบางสิ่งมากกว่าความฉลาดรอบรู้ หรือสามัญสำนึกการไตร่ตรองแยกแยะที่แท้จริง คือ พระหรรษทาน” “เราสามารถทราบได้อย่างไรว่าบางสิ่งมาจากพระจิตเจ้า หรือถ้าอาจจะมาจากจิตของโลก หรือจิตของปีศาจ” (ข้อ 166) ดังนั้น การไตร่ตรองแยกแยะจึงไม่ใช่กระบวนการแรกในการตัดสินใจแต่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความพากเพียรและมีความยุ่งยากซับซ้อนมากเพื่อความเข้าใจว่าจิตแบบไหนกำลังนำเรา “การไตร่ตรองแยกแยะเรียกร้องบางสิ่งมากกว่าความฉลาดรอบรู้ หรือสามัญสำนึกการไตร่ตรองแยกแยะที่แท้จริง คือ พระหรรษทาน “เป็นพระพรที่เราต้องอ้อนวอนขอ” (ข้อ 166)

            เป็นเพราะเราทั้งหลายต่างมีใจโน้มเอียงโดยการหลอกตนเองดังนั้น พระสันตะปาปาจึงทรงกระตุ้นเตือนเราว่า “ขอให้บรรดาคริสตชนทุกคนอย่าละเลยที่จะสนทนากับองค์พระผู้เป็นเจ้าโดยการพิจารณามโนธรรมประจำวันอย่างจริงจัง” (ข้อ 169) —Rev. Robert P. Imbelli

ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกออนไลน์
           จงหยุดโพสต์ในสิ่งที่ทำลายคนอื่นจงต่อต้านการซุบซิบนินทา และจงพิจารณาที่จะวางมือในเรื่องเหล่านี้นั่นเป็นคำแนะนำของพระสันตะปาปาฟรังซิส เพื่อว่าเราจะทำอย่างไรให้โลกออนไลน์มีความศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเห็นว่า “การใช้ถ้อยคำที่รุนแรงผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต และกลุ่มสนทนาออนไลน์ต่างๆหรือสังคมดิจิตอล” (ข้อ 115) พระองค์ทรงกล่าวว่า “แม้แต่สื่อมวลชนคาทอลิกสามารถก้าวข้ามข้อจำกัด การหมิ่นประมาทและการใส่ร้ายป้ายสี ที่กลายเป็นเรื่องธรรมดา และทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมและการเคารพชื่อเสียงของผู้อื่นนั้นได้ถูกทำให้เสื่อมเสียไป” (ข้อ 115)

(บราเดอร์อุดมศักดิ์  ว่องประชานุกูล ถอดความจาก James Martin, S.J.)

บทเทศน์วันอาทิตย์

"จำพระองค์ได้ไหม"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. บทอ่านจากพระคัมภีร์ประจำอาทิตย์นี้เน้นให้เรา...
"ฉลองพระเมตตา"ข่าวดีสัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา (B)วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2024 ก.ความสำคัญ 1. วันอาทิตย์นี้เป็นวันฉลองพระเมตตาของพระเจ้า...
"มีชีวิตใหม่"ข่าวดีสมโภชปัสกา พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ (B)วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2024 ก.ความสำคัญ1. ปัสกาเป็นการฉลองที่สำคัญที่สุดของพระศาสนจักร เป็นจุดกำเนิดของความหวังเรื่องการกลับคืนชีพและชีวิตนิรันดร์ เราฉลองวันปัสกาด้วยความภาคภูมิใจและความชื่นชมยินดีด้วยเหตุผลสามประการ...

ข่าว-ประชาสัมพันธ์

เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2024 เวลา 10.00 น. พระสังฆราชยอห์น ซิลวีโอ วิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ เสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีรื้อฟื้นคำสัญญาแห่งศีลบวช ณ...
เสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2024 เวลา 09.39 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานวจนพิธีกรรมเสกเสาเอก อาคารอนุรักษ์ "วัดพระหฤทัย" วัดบ้านเณร บ้างช้าง-บางนกแขวก...
วันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2024 เวลา 09.00 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ (ใบลาน) พระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า ณ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด...
ฉลองวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2024 เวลา 10.30 น. พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อวัดนักบุญอังเยลา ซอนต้า จ.ราชบุรี ภาพ-ข่าวโดย สื่อมวลชนคาทอลิกสังฆมณฑลราชบุรี...
ฉลองวัดพระวิสุทธิวงศ์ แพรกหนามแดง
วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา...
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้ง คุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สา เป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลราชบุรีร่วมโมทนาคุณพระเจ้าและแสดงความยินดีกับสังฆมณฑลนครสวรรค์โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งคุณพ่อเปาโลธวัช สิงห์สาเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่แห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ประกาศ ณ วันที่ 13...

ประกาศสำนักพระสังฆราช

ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.037/2024ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายพระสงฆ์เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่...
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ที่ สร.112/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง อนุญาตให้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์
ประกาศสังฆมณฑลราชบุรี เรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่
ที่ สร.091/2023ประกาศสังฆมณฑลราชบุรีเรื่อง การแต่งตั้งและยืนยันตำแหน่งหน้าที่

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม-เมษายน 2024

เล่า หลัง วัด

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

ปกิณกสาระพิธีกรรม

พ่อบูรณ์พ่อบู๊ชวนคุย

ความปีติยินดีแห่งความรัก

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

เพื่อนร่วมทาง

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก