UT UNUM SINT : เพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน

กฎหมายพระศาสนจักรในมือฆราวาส โดย คุณพ่อไพยง  มนิราช
เรื่องที่ 9 ฆราวาสกับงานศาสนบริกรในพระศาสนจักร
9.1 ฆราวาสกับงานศาสนบริกรตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักร

                 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 230 วรรค 1 กล่าวว่า “ฆราวาสชายที่มีอายุและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ โดยกฤษฎีกาของสภาสังฆราช สามารถได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อ่านและผู้ร่วมพิธีกรรมอย่างถาวร ตามจารีตพิธีกรรมที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การมอบตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้ มิได้เป็นการให้สิทธิ์ที่จะรับเงินค่าครองชีพ หรือค่าตอบแทนแก่พวกเขาจากพระศาสนจักร”
                   วรรค 2 กล่าวว่า “ฆราวาสรับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อ่านชั่วคราวระหว่างการประกอบพิธีกรรมได้ ในทำนองเดียวกันฆราวาสทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพิธีกรหรือนักขับร้อง หรือหน้าที่อื่นๆตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายได้”


                   วรรค 3 กล่าวว่า “เมื่อพระศาสนจักรมีความจำเป็นและขาดแคลนศาสนบริกรฆราวาส แม้มิใช่เป็นผู้อ่านหรือผู้ช่วยช่วยพิธีกรรมก็สามารถปฏิบัติหน้าที่บางอย่างแทนได้ เช่น ทำหน้าที่ศาสนบริกรพระวาจา เห็นประธานการนำภาวนาในพิธีกรรม โปรดศีลล้างบาปและแจกศีลมหาสนิท ท้งนี้ตามข้อกำหนดของกฎหมาย”

นัยของกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 230 วรรค 1-3 คือ
          ก) การปฏิบัติหน้าที่ผู้อ่านและผู้ช่วยพิธีกรรมอย่างถาวรของฆราวาสชาย
โดยผู้อ่านมีหน้าที่ - ประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าในพิธีกรรม
                        - สอนเด็กและเยาวชนเพื่อการเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์
                        - ประกาศข่าวดีแห่งความรอดแก่ทุกคน
โดยผู้ช่วยพิธีกรรมมีหน้าที่ - ช่วยพระสงฆ์และสังฆานุกร
                                   - ช่วยบริการศีลล้างบาป
                                    - ตั้งศีลล้างมหาสนิทและอวยพรศีลมหาสนิท
          ข) การปฏิบัติหน้าที่ในพิธีกรรมแบบชั่วคราว
              - ผู้อ่าน พิธีกร นักขับร้องและหน้าที่อื่นๆ
           ค) เพราะความจำเป็นและขาดแคลน ฆราวาสเป็นศาสนบริกรในเรื่อง
               - ศาสนบริกรพระวาจา
               - ประธานภาวนาในพิธีกรรม
               - โปรดศีลล้างบาป
               - แจกศีลมหาสนิท

ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนบริกรของฆราวาสมีดังต่อไปนี้
               9.1.1 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 910 วรรค 2 กล่าวว่า “ศาสนบริการแจกศีลมหาสนิทพิเศษคือผู้ช่วยพิธีกรรม หรือคริสตชนทีได้รับการแต่งตั้งเพื่อการนี้”
               9.1.2 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 943 กล่าวว่า “ศาสนบริกรตั้งศีลมหาสนิทและอวยพรศีลมหาสนิทคือพระสงฆ์หรือสังฆานุกร ในกรณีแวดล้อมพิเศษ ศาสน บริกรที่ทำหน้าที่เพียงตั้งศีลและเก็บศีลเท่านั้น โดยไม่มีการอวยพรศีลมหาสนิท คือผู้ช่วยพิธีกรรม ศาสนบริกรพิเศษสำหรับบริการศีลมหาสนิทหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายเพื่อการนี้ จากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจท้องถิ่น ทั้งนี้โดยปฏิบัติตามขิ้กำหนดของพระสังฆราชสังฆมณฑล”
               9.1.3 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 767 วรรค 1 กล่าวว่า “ในรูปแบบการเทศน์ต่างๆนั้น การแสดงธรรมเป็นรูปแบบที่โดดเด่นกว่าหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเองและสงวนไว้สำหรับพระสงฆ์หรือสังฆานุกร ในการแสดงธรรมนั้นให้อธิบายรหัสธรรมแห่งความเชื่อและกฎเกณฑ์การดำเนินชีวิตคริสตชน จากบทอ่านศักดิ์สิทธิ์ตลอดรอบปีพิธีกรรม”
               9.1.4 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1112 วรรค 1 กล่าวว่า “ถ้าสภาสพระสังฆราชเห็นชอบ และสันตะสำนักได้อนุญาตแล้ว ที่ใดที่ขาดพระสงฆ์และสังฆานุกร พระสังฆราชสังฆมณฑลสามารมอบอำนาจให้แก่ฆราวาสประกอบพิธีแต่งงานได้”
                9.1.5 กฎหมายพระศานจักรมาตรา 517 วรรค 1 กล่าวว่า “หากเพราะขาดแคลนพระสงฆ์ พระสังฆราชสังฆมณฑลมีความห็นว่า ต้องมอบให้สังฆานุกรหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระสงฆ์หรือกลุ่มบุคคลมีส่วนในงานอภิบาลปกครองวัด ท่านก็ต้องตั้งพระสงฆ์องค์หนึ่งที่มีอำนาจปกครองและอำนาจปฏิบัติของเจ้าอาวาสเป็นผู้อำนวย การอภิบาล”
                9.1.6 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 145 วรรค 1 กล่าวว่า “ตำแหน่งหน้าที่ในพระ ศาสนจักรคือหน้าที่ใดๆ ที่ตั้งขึ้นโดยกฎพระเจ้าหรือกฎพระศาสนจักรในลักษณะที่มั่นคง การปฏิบัติหน้าที่นี้ เพื่อจุดประสงค์ฝ่ายจิต”
                                                                      วรรค 2 กล่าวว่า “หน้าที่และสิทธิเฉพาะของตำแหน่งหน้าที่แต่ละอย่างในพระศาสนจักร มีกำหนดไว้ว่าทั้งในตัวกฎหมายเองที่บัญญัติหน้าที่นั้นๆหรือคำสั่งของผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจในเวลาที่แต่งตั้งและมอบหน้าที่นั้น”
                  9.1.7 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 861 วรรค 2 กล่าวว่า “ถ้าศาสนบริกรปกติไม่อยู่หรือถูกขัดขวาง ครูสอนคำสอนหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี้จากผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจท้องถิ่นเพื่อการนี้ ยิ่งกว่านั้น ในกรณีจำเป็นผู้ใดก็ตามที่มีเจตจำนงที่ถูกต้อง ก็โปรดศีลล้างบาปได้โดยชอบ ผู้อภิบาลวิญญาณโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าอาวาสต้องเอาใจใส่สอนคริสตชนให้รู้จักวิธีโปรดศีลล้างบาปที่ถูกต้อง”
                   9.1.8 กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 759 กล่าวว่า “คริสตชนฆราวาส โดยเหตุที่ได้รับศีลล้างบาปและศีลกำลังก็เป็นพยานถึงข่าวดีแห่งพระวรสารทั้งด้วยวาจาและด้วยตัวอย่างแห่งคริสตชน พวกเขาสามารถได้รับเชิญให้เข้าร่วมกับพระสังฆราชและพระสงฆ์ในการปฏิบัติศาสนบริการพระวาจาด้วย

คาทอลิกไทย "รวมพลังรักษ์โลก" ค.ศ.2024-2025

คาทอลิกไทยรวมพลังรักษ์โลก ค.ศ.2024-2025

สารสังฆมณฑลราชบุรี

สารสังฆมณฑลราชบุรี ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2024

การปกป้องคุ้มครองนักเรียนฯ

นโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โรงเรียน/สถานศึกษาสังกัดสังฆมณฑลราชบุรี

สถานที่อบรม-สัมมนา

ศูนย์ภาวนา"ทาบอร์" จ.กาญจนบุรี
บ้าน"เย็นเนซาเร็ธ" จ.เพชรบุรี
ค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกียรติบ้านพระหฤทัย บางนกแขวก